ชูรูทขึ้นแล้วหมุนๆ

ถ้าเราเชื่อคำกล่าวของซุนวูว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ไม่มีทางพ่ายแพ้” การทำความเข้าใจเรื่อง root canal anatomy จึงเปรียบเสมือนหนึ่งใน criteria ย่อยของซุนวู คือ การรู้เขา

แต่เวลาต้องอ่านทำความเข้าใจเรื่องนี้ เราจะพบความยากลำบากมากประมาณนี้ครับ

“โพรงเนื้อเยื่อในส่วนตัวฟันมีความกว้างในแนวแก้ม-ลิ้นมากกว่าในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง คลองรากฟันด้านแก้ม-ใกล้กลาง มีลักษณะโค้ง คลองรากฟันด้านแก้ม-ไกลกลางค่อนข้างตรง…”

นอกจากคำบอกตำแหน่งเช่น แก้ม-ใกล้กลาง, ลิ้น-ไกลกลาง แล้วเรายังพบคำบอกตำแหน่งที่แปลกยิ่งขึ้นไปอีกในฟันบางซี่เช่น ฟันกรามล่างซี่ที่ 1 ในรากฟัน mesial root ยังอาจพบคลองรากด้านใกล้กลาง-กึ่งกลาง (middle-mesial canal; MM) ซึ่งอยู่กึ่งกลางในร่องที่เชื่อมระหว่างรูเปิดคลองรากฟันด้านแก้มและคลองรากฟันด้านลิ้น

ผมยอมรับว่า toxic กับคำว่า -ใกล้กลาง,-ไกลกลาง,-ใกล้กลาง-กึ่งกลาง พวกนี้มาก อ่านไปก็คิดตามไปทีละพยางค์ ทำให้อ่านทำความเข้าใจได้ช้าและปวดหัวมาก

นอกจาก wording เหล่านี้ ยังต้องพบกับตัวเลขเชิงปริมาณอีกมหาศาล เช่น

 

IMG_5356

 

ทำให้มาคิดว่า ถ้าอ่านแบบนั้น ไม่ practical แน่ ในเมื่อเราเป็นทันตแพทย์ GP ที่ทำงาน Endo ที่ไม่ซับซ้อน ทำไมเราไม่หาวิธีจำแค่ root canal anatomy เฉพาะที่เจอได้บ่อยๆ และถ้าเราจำได้จากภาพน่าจะง่ายกว่าการนึกถึง  “ตำแหน่งรูเปิดรากฟันของฟันกรามบนซี่ที่ 1 พบเบี่ยงเบนไปจากปลายรากฟันร้อยละ 62 โดยส่วนใหญ่เบี่ยงเบนไปทางด้านลิ้น…” ที่นอกจากจะทั้งอ่านยาก ทำความเข้าใจยาก และจดจำได้ยากกว่า

หรืออย่างน้อยก่อนจะวางแผน OCD เราเปิดดูรูป 3D เหล่านี้ก่อนซักรอบ ก็น่าจะช่วยลดข้อผิดพลาดได้มากขึ้น

animation 3D root anatomy จาก Pathways of The PUPL 11th  มัน work มากยังไง ลองมาดูกันครับ (อย่าลืมว่า เงื่อนไขคือเฉพาะลักษณะที่ common คือพบได้เป็นส่วนใหญ่นะครับ)

ฟันบน

ฟันซี่ 1 บน pulp chamber มีรูปร่างเป็นกรวย แล้วลดเป็นรูป 3 เหลี่ยมระดับคอฟัน และ apical foramen ค่อยๆ เบนไปเปิดด้าน distal  พบมี 1 canal ใช้คำว่า 99.95%

 

 

ฟันซี่ 2 บน pulp chamber เป็นรูปไข่หรือกลม apical foramen ค่อยๆเบนเปิดด้าน distal และมี 1 canal เกือบ 100%

 

 

ฟันซี่ 3 บน เป็นฟันที่รากค่อนข้างตรง curve น้อย และ apical อยู่ตรงปลายรากพอดี พบ 1 canal เกือบ 100%

 

 

ฟันซี่ 4 บน เนื่องจากรากฟันเริ่มมี mesial concavity ทำให้ pulp chamber ระดับคอฟันเป็น kidney shape  ส่วนใหญ่พบ 2 canal รองลงไปคือ 1 canal และถ้าพบ 3 canal มันจะแยกเป็น buccal 2 ,lingual  1  ส่วนตำแหน่ง apical foramen ตรงกับปลายราก

 

 

 

ฟันซี่ 5 บน pulp chamber คล้ายๆซี่ 4 บน แต่จะมนกว่า  ส่วนใหญ่พบ 1 canal (โอกาสพบ 2 canal น้อยมากคือประมาณ 5%)  apical foramen ส่วนใหญ่อยู่ตรงปลายราก

 

 

 

ฟันซี่ 6 บน ส่วนใหญ่มี 3 canal และ 4 canal (ที่บอกมี 3 อาจเพราะหา MB2 ไม่เจอหรือ Pt อายุมากจน calcify ทำให้หาได้ยาก)  ถ้าพบ MB2 ลักษณะที่พบมากสุดคือ มันจะแยกและ anastomose กับ MB1

การหาตำแหน่ง MB1 อ่านได้ที่นี่ครับ รีวิว Hand-on MC  (อยู่ตรงกลางๆ เรื่อง)

 

 

 

ฟันซี่ 7 บน คล้ายๆซี่ 6 บน แต่ตำแหน่ง orifice ทั้งหมดจะเข้าใกล้กันมากกว่า (เพราะรากฟันไม่กางเท่าซี่ 6)

จำนวน canal ค่อนข้างแปรปรวนมากกว่าซี่ 6 บน ที่พบมากสุดคือ 3,4 และ 2 canal ตามลำดับ

มีโอกาสพบ MB2 ได้พอๆ กับซี่ 6

 

 

ฟันซี่ 8 บน แปรปรวนสุด

 

 

 

ฟันล่าง

 

ฟันซี่ 1 ล่าง เป็นฟันหน้าที่มีโอกาสพบได้ 2 canal สูงกว่าฟันหน้าบน และ apical foramen จะเบนไปเปิดทางด้าน labial  (การ OCD โดยกรอขยายส่วนนูนด้าน lingual ค่อนข้างจำเป็นเพื่อ access หา canal ที่ 2)

 

 

ฟันซี่ 2 ล่าง ลักษณะไม่ต่างจากซี่ 1 ล่าง

 

 

ฟันซี่ 3 ล่าง คล้ายซี่ 3 บน แต่ที่ต่างกันคือ apical foramen จะไม่อยู่ปลายรากพอดี (ห่างปลายรากประมาณ 0.42 มม.) และมีการเบนไปทางด้าน labial (เหมือนฟันหน้าล่างซี่ 1 และซี่ 2)

 

 

ฟันซี่ 4 ล่าง ถึงส่วนใหญ่จะพบ 1 canal แต่ความแปรปรวนในการแยก branch และ accessory canal สูงมาก เพราะมีการแยกในตำแหน่งที่แตกต่างกัน หรือแม้กระทั่ง C-shaped ก็มีพบครับ  เวลา x-ray ซี่นี้จึงมีคำแนะนำให้ shift tube มากกว่าปกติ ( มุม 20 องศา หรือ อาจได้ถึง mesial shift 40 องศา) เพื่อแยก canal ที่ 2 ให้ได้

 

 

ฟันซี่ 5 ล่าง  ส่วนใหญ่มี 1 canal และแปรปรวนน้อยกว่าซี่ 4 ล่าง

ข้อควรระวังมีเพียงข้อเดียว คือปลายรากฟันซี่นี้อยู่ใกล้ mental foramen ทำให้อาจสับสนกับ rarefied area ของ lesion  ระวังเวลา x-ray และ MI ไม่ให้เครื่องมือเกินปลายรากครับ

 

 

 

ฟันซี่ 6 ล่าง พบ 3 canal ใน 2 ราก เป็นส่วนใหญ่ แต่พบ 3 ราก ได้ 13% ในคนเอเชีย

ซี่นี้มีศัพท์ใหม่เยอะสุด

1.middle-mesial canal คือพบอยู่กึ่งกลาง orifice ระหว่าง mesio-buccal canal และ mesio-lingual canal ของ mesial root

2.radix-paramolaris คือ รากที่เพิ่มขึ้นทางด้าน mesio-buccal หรือพบอยู่ระหว่าง mesial root และ distal root ถ้าใครทำฟันฝรั่งยุโรปบ่อยๆ ให้ระวังจะเจอรากนี้  (คนเอเชียพบได้น้อย)

3.radix-entomolaris คือ รากที่เพิ่มขึ้นทาง disto-lingual พบในคนไทยได้ 12.7%

4.middle-distal canal พบได้บ้างแต่น้อยกว่า middle-mesial canal

 

รูป 3D รูปแรกแสดง radix-entomolaris (4th canal; disto-lingual canal) ฟันพวกนี้มักมีความกว้าง occlusal table กว้างกว่าปกติในแนว bucco-lingual และครึ่งของ occlusal table ด้าน distal เด่น)

 

 

ฟันซี่ 7 ล่าง คล้ายฟันซี่ 6 คือส่วนใหญ่มี 2 ราก 3 canal (mesial root 2 canal,distal root 1 canal) ล่าง ที่พบรองลงไปคือ มี 2 canal แต่พบ C-shaped เยอะกว่าซี่ 6 ล่าง คือพบได้ถึง 10-52% ในคนเอเชีย

 

 

 

ฟันซี่ 8 ล่าง แปรปรวน แต่ที่พบมากสุดคือ 2 ราก ที่มีได้ถึง 1-4 canal แต่แปรปรวนได้ถึง 6 canal

Leave a comment