Author: drpanlop

การหาปริมาณ Fluorideใน Dentifrice แบบคิดในใจ

รูปที่เห็นถ้าเราพลิกรอบๆ กล่องยาสีฟัน จะเจอปริมาณฟูลออไรด์ในหน่วย ppm ที่คุ้นเคย ความหมายคือ ยาสีฟันหลอดนี้มีปริมาณ Fluoride ion ที่ความเข้มข้น 1,450 ppm (ปกติในยาสีฟันจะจำกัดปริมาณสูงสุดของ F – ion ที่ไม่เกิน 1,500 ppm)

และยาสีฟันในตลาดส่วนมาก สารออกฤทธิ์ที่ให้ F- ion จะมีอยู่ 2 ตัว

คือ

1.Sodium fluoride (NaF)

2.Sodium MonoFluoroPhosphate (Na2 PO3 F (คุ้นกันในชื่อ MFP fluoride))

(Na มี 1+, P 5+, O 2-, F 1- ดังนั้น Na ติดประจุ +1, PO3 ติดประจุ -1 (มาจาก 5+(-2×3)=5-6 = -1) , F ติด -1

ทำให้เป็น 2 Na ประจุ +2 กับ 1 ((PO3)F ) ประจุ -2 –> redox เป็น Na2 (PO3) F

MFP fluoride
NaF

แต่เราจะพบว่า ส่วนใหญ่ใช้ NaF มากกว่า MFP fluoride

และมีน้อยมาก ที่จะใช้ทั้ง MFP fluoride และ NaF ในหลอดเดียวกัน

Fluocaril จัดหนัก คือให้มาทั้ง 2 ตัว แต่ F-ion รวม ก็ยังจำกัดไม่เกิน 1,500 ppm

ทำไมผู้ผลิตจึงนิยมใช้ NaF > MFP fluoride ?

เหตุผล เพราะ ถ้าเรามาดูสูตรโมเลกุล NaF เทียบกับ MFP fluoride (Na2 PO3 F)

จากตารางธาตุ

มวลอะตอมของ Na = 23, F = 19, P = 31, O = 16, F = 19

จะได้

มวลโมเลกุล NaF = 23 + 19 = 42

มวลโมเลกุล Na2 PO3 F = (23×2) + 31 + (16×3) + 19 = 144

ปริมาณ F- ion ใน NaF = 19/42 = 0.4524 = 45 %

ปริมาณ F-ion ใน Na2 PO3 F = 19/144 = 0.1319 = 13.2%

ในปริมาณน้ำหนักที่เท่ากัน NaF จะ release F-ion > MFP fluoride ประมาณ 3 เท่า

Product ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Dentifrice, Mouthrinse หรือ Fluoride ในรูปแบบอื่นๆ จึงนิยมใช้ NaF เป็นหลักครับ

ทีนี้ลองเทียบปริมาณในการนำไปใช้

MFP 1% w/w = 10 mg/g จะมี F-ion = (10 x 13.2)/100 = 10/7.6 = 1.32 mg/g = 1.32 x 1000 = 1,320 ppm

NaF 1% w/w = 10 mg/g จะมี F-ion = (10 x 45)/100 = 10/2.2 = 4.55 mg/g = 4.55 x 1000 = 4,550 ppm

สรุปคือ MFP 1% w/w = F-ion 1,320 ppm, NaF 1% w/w = F-ion 4,550 ppm

ลองนำไปใช้ตรวจคำตอบในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป

NaF 0.315% w/w = F-ion 0.315 x 4,550 = F-ion 1,433.25 ppm

ถือว่า มีการปัดเศษนิดหน่อย ก็ ok ~ 1,450 ppm เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจง่าย

ต่อมา ลองนำมาใช้ในชีวิตประจำวันทันตแพทย์กันบ้างครับ

จากบทความใน CDEC

ตัดมาเฉพาะตรงนี้

จากข้อ 1 Mouthrinse 0.05% = F-ion 225 ppm –> สารออกฤทธิ์ 1% =F-ion 4,500 ppm ( มาจาก 225/0.05 = 4,500)

จากข้อ 2 Mouthrinse 0.2% = F-ion 900 ppm –> สารออกฤทธิ์ 1% = F-ion 4,500 ppm ( 900/0.2 = 4,500)

เพราะเรารู้แล้วว่า NaF 1% w/w = F-ion 4,550 ppm

(สังเกตว่า Mouthrinse ต้องคิดเป็น w/v แต่ NaF เป็น w/w ซึ่งจะไม่มีความแตกต่างเมื่อคิดเป็น % หรือ ratio อย่าง ppm ที่ไม่มีหน่วยวัดเป็น prefix ของ g, litre เช่น mg, ml)

Mouthrinse ทั้ง 2 ความเข้มข้นในบทความนี้จึงใช้ NaF เป็น active F- ion release (แม้ท่านอาจารย์จะไม่ได้บอก แต่ละไว้ในฐานที่เข้าใจจาก conc ที่ให้ ว่าเป็น NaF )

อีกตัวอย่าง

เรื่อง แนวทางการใช้ F สำหรับเด็ก 2560

จาก ΝaF 1% w/w และ Conversion ratio ของ F-ion ใน NaF = 2.2 ( F-ion = 45% ของ NaF –> Conversion ratio = 100/45 = 2.2 )

0.05% NaF = 0.5 mg/ml –> ทำให้เป็น F-ion = 0.5/2.2 = 0.23 mg/ml –> (0.23×5) – (0.23×10) = 1.15 – 2.30 เป็นปริมาณ mg F ช่อง 1

0.2% NaF = 2.0 mg/ml –> ทำให้เป็น F-ion = 2.0/2.2 = 0.91 mg/ml –> (0.91×5)-(0.91×10) = 4.55 – 9.10 ปริมาณ mg F ช่องที่ 2

จะเห็นว่า การหารด้วย Conversion ratio ไม่ทำให้หน่วยเปลี่ยน เพราะ Conversion ration ตัวมันเองไม่มีหน่วย เป็นเพียงการหา F-ion ที่ซ่อนอยู่ในสูตรโมเลกุลของ Active gradient (ซึ่งในที่นี้คือ NaF) เท่านั้น

มาดูตารางในหน้าที่ 6 ของบทความ

APF 1.23% = 12.3 mg/ml (กรณี APF จะบอก % ของ F-ion มาเลย เวลาคิดเป็น mg/ml ให้นำ % w/v คูณด้วย 10 ) = 12,300 (1.23 x 10,000) ppm ( 1% w/v = 1/100 = (1/100) x (1,000,000/1,000,000) = 10,000/1,000,000 = 10,000 ppm)

2% NaF = NaF 20 mg/ml มี F- ion = 20/2.2 = 9.09 mg/ml ปริมาณในการเคลือบ 5 ml = 9.09 x 5 = 45.45 mg

สรุปวิธีคิด ปริมาณ F-ion จาก conc ของ NaF ที่ง่ายที่สุด คือ

1. นำ NaF % คูณด้วย 10 จะออกมาเป็น NaF mg/g (w/w), mg/ml (w/v)

2. นำผลที่ได้จากข้อ 1 เป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วย 2.2 (ค่า Conversion ratio ของ NaF) ได้ออกมาเป็น F-ion หน่วย mg/g (w/w) หรือ mg/ml (w/v)

3. จากนั้นนำผลลัพธ์ในข้อ 2 มาคูณด้วย 1,000 จะออกมาเป็น F-ion ในหน่วย ppm

ตัวอย่าง เช่น Dentifrice ข้างกล่องระบุ Sodium Fluoride 0.315% w/w

1. นำ 0.315% x 10 = 3.15 mg/g NaF

2. 3.15/2.2 = 1.43 mg/g F-ion

3. 1.43 x 1,000 = 1430 ppm F-ion

4. Sensodyne หลอด 100 g มี NaF 315 mg มี F-ion 143 mg หรือ 1,430 ppm

และถ้าเราต้องการคิดแบบย้อนกลับ คือ พบว่า กล่อง Dentifrice ระบุ ปริมาณ (conc) F-ion เป็น ppm แล้วต้องการทราบ conc ของ Sodium fluoride ก็ทำได้โดย การนำ F-ion ppm มาคูณด้วย 2.2 แล้วหารด้วย 10,000 ก็จะออกมาเป็น % NaF ที่อยู่ในหลอดนั้น

สมมติเดินเข้าไปใน 7-11 แล้วเจอยาสีฟันที่ระบุแบบนี้

Active Fluoride 1,000 ppm

พลิกดูแล้วเป็น NaF

F-ion 1,000 ppm –> NaF = (2.2 x 1000)/ 10,000 = 0.22 %

Kodomo หลอดนี้มี NaF 0.22% ในขนาดหลอด 40 g

–> มี NaF (0.22 x 40) /100 = 0.088 g = 88 mg

อีกตัวอย่าง คือ เมื่อเราเจอ Active F-ion ปริมาณที่ไม่ลงตัว เช่น 1,450 ppm

วิธีคิด % NaF คือ การนำ 1,450 ppm มา + กัน 2 ครั้ง เป็น 1,450+1,450 = 2,900 (เป็นผลจากการคูณด้วย 2)

เก็บ 2,900 ไว้ในใจ แล้วตัด 0 ออก 1 ตัว ( เป็นผลจากการคูณด้วย 0.2) ได้ = 290

นำ 2,900 ที่เก็บไว้ในใจมา + 290 ได้ค่า = 3,190

นำ 3,190 / 10,000 = 0.319 % NaF

(วิธีคิดมาจาก 1,450 x 2.2 = 1,450 x (2 + 0.2) = (1,450 x 2) + (1,450 x 0.2))

Colgate Total หลอดนี้มี NaF 0.319%

นอกจากนั้นเรายังใช้วิธีนี้กับ Fluoride product ตัวอื่นได้

เช่น Silver Diamine Fluoride (SDF)

SDF มีสูตรโมเลกุล Ag (NH3)2 F

Ag 1+, NH3 ประจุ 0 (-3 + (1+1+1)), F 1- –>

Ag(NH3)2 ประจุ +1 กับ F -1 –> Αg (NH3)2 F

SDF atomic mass = Ag 108 + NH3 ((14+1+1+1)x2) + F 19 = 161

ปริมาณ F-ion ใน SDF = 19/161 = 0.118 = 11.8% = Conversion ratio 8.47

(มาจาก 100/11.8 = 8.47)

จากรูป แสดง conc ของ SDF ที่ใช้ในคลินิก = 38% w/v

วิธีคิด F-ion ที่อยู่ใน SDF

1. SDF 38% w/v จะมี conc = 38 x 10 = 380 mg/ml

2. SDF 380 mg/ml มี F-ion = 380/ 8.47 = 44.864 mg/ml (หารด้วย Conversion ratio ของ SDF)

3. F-ion 44.864 mg/ml = 44.864 x 1,000 = 44,864 ppm

นั่นคือ SDF 38% w/v จะมี F-ion 44,864 ppm

ตรวจคำตอบ

สรุป

ค่าพลัง F-ion ของ Mouthrinse อยู่ที่ระดับ 500-1,000 ppm

ค่า F-ion ของ Dentifrice จะมีค่าพลังอยู่ที่ 1,500 ppm

ค่า F-ion ของ Fluoride gel ค่าพลังระดับ 10,000 ppm

และ SDF ค่าพลังสูงที่สุด คือ อยู่ที่ระดับ 50,00 ppm

(ตัวเลขละเอียดตามข้างต้น แต่สรุปเป็นตัวเลขประมาณเพื่อให้จำได้ง่ายๆ ครับ)

Ref:

1. https://sciencenotes.org/use-periodic-table/

2. https://www.cdec.or.th/readonly_page.php?id=148

3. https://www.thaidental.or.th/main/download/upload/upload-20190213213340.pdf

4. https://dentalcouncil.or.th/images/uploads/file/0DZ0ANJWCPIWHGY3.pdf

5. https://www.cdec.or.th/readonly_page.php?id=10

Dentist & MissUniverse 2023

ประทับใจน้อง Amanda Dudamel (Miss Venezuela) ครับ

เนื่องจากไม่มีรูป Profile จึงขอดูสัดส่วนของฟันอย่างเดียว

Central incisor ดูใหญ่มาก แต่ลองวิเคราะห์กันดู

การวิเคราะห์ จะอ้างอิงตามนี้นะครับ https://bit.ly/3GKTOpR

จะใช้ตามลำดับเวลา จาก Golden proportion –> Golden mean (Golden %) –> RED proportion

สัดส่วนความสูงของ Clinical crown ฟันหน้าบน ต่อ ใบหน้าส่วนล่าง (Dr.Edwin I. Levin ปี ค.ศ.1978)

ถือว่า ใกล้เคียงในทศนิยมตำแหน่งที่ 2 คือ 1 : 1.618 ( เพราะ ถ้าทศนิยมตำแหน่งที่ 2 ไม่ใกล้เคียง จะเกิดการปัดทศนิยมตำแหน่งที่ 1 จึงถือว่า 1.6428 มีนัยสำคัญที่ ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 คือ 4 ครับ)

มาดูขนาดฟัน

ค่าทางขวามือผู้อ่าน คือ ค่าที่เทียบกับ Standard (Original) Golden ratio , ส่วนทางซ้ายมือคือ ค่า Golden mean (Golden %) ของ Dr.Stephen R. Snow ค.ศ.1999)

ค่าในรูปคือ 1.5714 : 1 : 0.8571 เทียบกับ 1.618 : 1 : 0.618 ของ Standard GR จะเห็นว่า ค่าไม่ไปด้วยกันเลย

แต่ถ้าลองเทียบกับ Golden mean ของ Dr. Snow

ค่าที่ได้ คือ 0.247 : 0.1573 : 0.1348 –> 0.25 : 0.16 : 0.1 จะเห็นว่า ใกล้เคียงกับ Golden mean มากครับ (0.25 : 0.15 : 0.1)

เนื่องจาก #11, 21 ดูใหญ่มาก เราลองดู Clinical crown w/h ครับ

w/h = 74% ถือว่า อยู่ใน normal clininal crown ครับ
ถ้า w/h ต่ำ นั่นหมายถึง ฟันจะมี Clinical crown ยาวกว่าปกติครับ

ในคนที่มี Clinical crown w/h ปกติ เราจะใช้ RED proportion ครับ (เพราะในธรรมชาติ Standard GR ไม่ fit กับขนาดฟันจริง )

Recurring Esthetic Dental proportion = 1 : 0.7 : 0.49

กลับมาที่รูปนี้

ถ้าใช้ RED proportion

22 : 14 : 12 = 1 : 0.6363 : 0.5455 –> 1 : 0.6 : 0.5 ซึ่งใกล้เคียง 1 : 0.7 : 0.49

สรุป Central incisor (ที่เห็นจากรูป) ไม่ถือว่า ใหญ่เกินไปครับ เพราะ ถ้าหมอไปเพิ่ม w/h ratio ถึงจะทำให้เข้าใกล้ norm Clinical crown มากขึ้น แต่การลด h ก็จะมีผลกับ Smile line และ embrassure ครับ

Ref :

1. https://footwearnews.com/2023/fashion/celebrity-style/miss-venezuela-miss-universe-2023-1st-runner-up-dress-heels-1203392494/

หากว่าน้อยไป ฉันจะเล่าให้ฟัง

ถ้าใครได้พบหนังสือ Phillips’ Science of Dental Materials เล่มล่าสุด คือ 13th Edition อาจจะรู้สึกแปลกๆ ในทันทีที่ค่อยๆ ดึงหนังสือ ออกมาจาก shelf ครับ

ที่รู้สึกแปลกนั่นก็เพราะความหนาของ edition นี้ลดลงจาก Phillips’ Science ที่เราคุ้นเคยกันประมาณครึ่งนึงครับ

จากรูป 13th ed คือ เล่มบน และ 12th ed คือ เล่มล่าง

ขนาด Text กว้าง x ยาว เท่ากัน
หน้าตา 12th ed

เทียบความหนาในอีกมุม ซ้ายมือของท่านผู้อ่านคือ 12th ed ขวามือคือ 13th ed

คำถามคือ ความหนาของ Text ที่ลดลงไป หายไปไหน?

ผมจะเล่าให้ฟัง

หนังสือที่ถือเป็นแกนหลักของ Dent Mat สำหรับหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ศึกษา มาอย่างยาวนาน ที่เป็นหนังสือภาษาไทย คือ เล่มนี้ครับ

หนังสือทันตวัสดุศาสตร์ ของท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ เจน รัตนไพศาล มีการตีพิมพ์ทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2522 และครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2533 (ห่างกัน 10 ปี)

(ถ้าไม่นับหนังสือ เฉลยคำถามทันตวัสดุและอุปกรณ์ ของท่านอาจารย์)

แกนหลักของหนังสือ แบ่งเป็น 3 ส่วน

1. Basic science

2. Dental materials โดยในส่วนนี้ การพิมพ์ครั้งสุดท้ายเพิ่มในส่วน Dental handpiece, Dental unit, Hand instruments ทาง Oper และ Surg, Burs, Dentifrices, Denture cleanser, กาวติดฟันปลอม

3. ภาคผนวก ส่วนนี้เป็นภาคผนวกที่อลังการมาก เพราะมีกระทั่งหมวดชื่อ บริษัทที่สร้าง products ต่างๆ

แสดงหน้าตาของ Content

หน้าสารบัญของภาคผนวก

ถ้าเราลองเทียบเคียง Content ของ Phillips’ Science 12th ed กับ หนังสือทันตวัสดุศาสตร์ ของท่านอาจารย์ เจน จะพบว่า มีความคล้ายกันในการแบ่งโครงสร้างเนื้อหา แม้จะมีระยะห่างระหว่างกัน ~ 20 ปี

ถึงจะเขียนคนละภาษา แต่ขนาดใกล้เคียงกันมาก

มาดู Content ของ Phllips’ Science 12th ed

เราจะมองเห็นหนังสือแบ่งออกเป็น 4 part แต่ถ้าลองมองเนื้อหาจริงๆ พบว่า ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ครับ

Part 1 Basic science

Part 2, 3, 4 Dental materials

และ ภาคผนวกปิดท้าย

การเรียงลำดับบท “เกือบ” สุดท้ายจะปิดด้วย Dental implants เหมือนกัน แต่ Phillips’ Science จะไม่มีเรื่อง Handpiece, Unit แต่มีเรื่อง Dentifrices, Denture cleanser (ไม่มี Denture adhesive)

สรุปถึงตอนนี้ คือ ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของ Phillips’ Science ที่ใช้เป็นหลักสำหรับการใช้สอนในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ของไทยมาอย่างยาวนาน

แต่เดิม แรกเริ่มนั้น หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อ Phillips’ Science ครับ

แต่ใช้ชื่อว่า The Science of Dental Materials ครับ ผู้แต่ง คือ Dr. Eugene W. Skinner ตำแหน่ง Professor of physics at Northwestern U

School of Dentistry in Chicago

หนังสือ The Science of Dental Materials 1st ed ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) คือ ปีที่ตีพิมพ์ครั้งแรก เป็นปีที่ ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ เจน รัตนไพศาล อายุ 16 ปี พอดีครับ

หลังจากนั้นก็เป็น

The Science of Dental Materials 2nd ed

The Science of Dental Materials 3rd ed

The Science of Dental Materials 4th ed

The Science of Dental Materials 5th ed ซึ่งการตีพิมพ์ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ คือ Dr. Skinner ได้นำ Dr. Ralph W. Phillips มาเป็นผู้แต่งร่วมครับ

ในระหว่างจะตีพิมพ์ครั้งที่ 6 ปรากฏว่า Dr. Skiner เสียชีวิตครับ

The Science of Dental Materials 6th ed ตรงกับปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509 ในปีนี้ ท่านอาจารย์ เจน จบเป็น ทันตแพทย์ เรียบร้อยแล้วจาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ครับ)

ท่านอาจารย์ Dr. Ralph W. Phillips จึงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น Skinner’s Science of Dental Materials ในการพิมพ์ครั้งที่ 7

Skinner’s Science of Dental Materials 7th ed

Skinner’s Science of Dental Materials 8th ed

Skinner’s Science of Dental Materials 9th ed

(ตอนที่ผมเริ่มเรียน Dent mat ในคณะ ผมทันชื่อ Skinner’s Science ครับ)

แต่ก่อนจะตีพิมพ์ครั้งที่ 10 ท่านอาจารย์ Dr. Phillips เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1991 ครับ (ตรงกับ พ.ศ. 2534 ซึ่งเวลานี้ หนังสือทันตวัสดุศาสตร์ ภาษาไทย ของท่านอาจารย์ เจน เป็น 2nd edition เรียบร้อยแล้ว)

ในการตีพิมพ์ครั้งที่ 10 หนังสือจึงได้รับการเปลี่ยนชื่ออีกครั้ง และเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเปลี่ยน Editor เป็น Dr. Kenneth J. Anusavice

Phillips’ Science of Dental Materials 10th ed

Phillips’ Science of Dental Materials 11th ed

Phillips’ Science of Dental Materials 12th ed

ลองมาดูรายชื่อ Author และ Co-author ของเล่มที่ 12

จะเห็นชื่อ Co-author คือ Dr. Chiayi Shen และ Dr. H. Ralph Rawls

ซึ่งต่อมาในการตีพิมพ์ครั้งที่ 13 ทั้ง 2 ท่านนี้เป็น Author แทน Dr. Anusavice ครับ

Phillips’ Science of Dental Materials 13th ed

ok มาถึงตรงนี้ สรุปคือ เปลี่ยน Author ใน Phillips’ Science เล่มล่าสุด แล้วทำไมหนังสือบางลงครึ่งนึงของความหนาเดิม

หรือ ราคาขายจะลดลงหรือเปล่า?

คำตอบคือ ไม่ใช่เรื่องราคาครับ เพราะ 13 th ed แพงกว่า 12th ed ~ 100% ณ เวลาที่ซื้อคือ ปี ค.ศ. 2021 ( พ.ศ. 2564)

ราคาของ 12th ed อยู่ที่ 1,900 บาท

ราคา 13th ed อยู่ที่ 3,590 บาท

เหตุผลที่ Τextbook Dent Mat บางลง เพราะ เป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการใช้ทันตวัสดุในวิชาชีพ ทันตแพทย์นั่นเองครับ

ถ้าย้อนกลับไปใน Phillips’ Science 10th ed จะพบว่า มีจำนวนบททั้งหมด 30 บท และถูกยุบมาเหลือ 23 บท ใน 11th ed โดยเรื่องที่ถูกยุบรวมกัน คือ

Impression materials, Casting invesment and procedures, Dental cements, Amalgams, Dental casting and soldering alloys

นั่นคือ แนวโน้มของวัสดุบางประเภทที่ “เริ่ม” ลดความสำคัญลง เมื่อเวลาเปลี่ยนไป และมี technology ใหม่ๆ ที่ก้าวเข้ามา

แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เริ่มเกิดในรอยต่อของ 12th ed กับ 13th ed ครับ

ให้ลองดู Contents เทียบกัน 12th ed รูปบน, 13th รูปล่าง

ใน 12th ed นั้น Dr. Anusavice ยังแบ่งเป็น 4 part แบบเดิม

แต่ใน 13th ed หนังสือเพิ่มมาอีก 1 part เกิดการการจัดหมวดบทเรียนเก่า และใหม่ ทั้งยุบรวม และเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่

สังเกตว่า นอกจากจำนวน part ที่เพิ่มขึ้น ยังมีการจัดหมวดใหม่ เช่น Αuxillary materials ที่ 12th ed เคยจัดเป็น Part 2 ใหญ่ ที่ประกอบไปด้วย Ιmpression, Gypsum, wax ถูกยุบรวมกันเป็นบทย่อย บทที่ 13 อยู่ใน Part 4 Fabrication of Prostheses เท่านั้น

มาลองดูความแตกต่างอย่างชัดเจนของ 2 เล่มนี้ ในหัวข้อ Auxillary materials กันครับ

12th ed

13th ed

ส่วนประกอบของ Auxillary materials ใน 13th ed ยังมีเหมือนๆ กับ 12th ed

แต่ถ้าลงลึกเข้าไปจะพบว่า บางเรื่อง หรือ บางรูปประกอบคำอธิบายที่สำคัญ เช่น Maxwell-Voigt model ที่ใช้อธิบายเรื่องพฤติกรรมของ Impression materials ชนิด Elastomer เมื่อได้รับแรง และการเปลี่ยนรูป ที่อธิบายอย่างละเอียด ใน 12th ed หายไปทั้งยวงใน 13th ed ครับ

รูปนี้ไม่มีใน 13th ed เล่มล่าสุด

(อธิบายโดยสรุป วัสดุพิมพ์ปากชนิด Elastomer ( Polysulfide, Condens silicone, Addition silicone, Polyether : ผมเรียงตาม Stiffness) จะมีคุณสมบัติที่อยู่ระหว่าง ความเป็น Elastic solid กับความเป็น Viscous liquid

คือ ยืดได้จำกัด และ หนืดได้จำกัด เรียก Viscoelastic solid ซึ่งอธิบายด้วย Maxwell-Voigt model โดยการต่อของ Spring S1, S2 แบบอนุกรมกัน และการต่อของลูกสูบ+กระบอกสูบ D2,D1 แบบอนุกรม ส่วน S2 และกระบอกสูบ D2 ต่อแบบขนาน

ในชั้นแรก เมื่อมีแรงกระทำต่อระบบในรูป สปริง S1 จะเป็นตัวรับแรง เกิดการเปลี่ยนรูป (Strain) ที่ S1 โดยยังไม่มีผลต่อ S2, D1, D2

ต่อมา เมื่อยังให้แรงเท่าเดิม ต่อไปเรื่อยๆ สปริง S1 จะเปลี่ยนรูปมากขึ้น แล้วขอให้ D2, S2, D1 มาช่วยรับแรง จึงทำให้สปริงและกระบอกสูบทั้งระบบเปลี่ยนรูป —> ตรงนี้เทียบกับ Addition silicone ผ่าน Setting time จนถึงขั้นที่เราต้องดึง impression ออกจากปาก Pt ถ้าเราใช้แรงดึงแบบดึงนานๆ กว่า impression จะผ่านจาก undercut ทั้งหลาย แรงที่ทำให้กระบอกสูบเปลี่ยนรูป จะเกิดขึ้น (ถึงแม้ สปริงจะคืนตัวได้ดังเดิม)

เมื่อนำแรงออกไป S1, S2 คืนกลับได้ 100% (สปริง แทนคุณสมบัติ Elastic solid) แต่ลูกสูบ D2 และ D1 (ลูกสูบอยู่ในกระบอกสูบที่มี liq หนืดหล่อลื่น แทนคุณสมบัติ Viscous liq) ไม่สามารถ recovery กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้นได้

จึงเทียบได้กับ Action ที่เราใช้ Elastomer พิมพ์ปาก คือ ต้องใช้แรงดึงแบบใช้เวลาน้อยสุด (เป็น Time dependent ไม่ใช่ Force dependent คือ ดึงแรงหรือเบาก็ได้ แต่ต้องใช้เวลาดึงที่น้อยที่สุด) และหลังจากดึงออก ต้องมีเวลาให้ ลูกสูบ D2, D1 recover โดยทิ้งวัสดุไว้ซักพัก (ไม่เทงานทันที) )

เรื่อง Wax มีปกติใน 13th ed ครับ แต่เรื่อง Compound หายไปเลย

Compound ยังมีอยู่ใน 12th ed แต่หายไปทั้งเรื่องใน 13th ed ครับ

หลายเรื่องของ 13th ed ก็ยังใช้ 12th เป็นแกนหลักในการเขียนเหมือนเดิม เช่น เรื่อง Basic science

รูปหลายรูปยังยกมาเหมือนเดิม

แต่บางรูปถูกตัดทิ้งไป เช่น รูปที่อธิบาย Galvanic

เทียบในเนื้อหาเดียวกันของทั้ง 2 เล่ม 12th ed อยู่ซ้ายมือ

ให้ดูการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ แต่แสดงถึง ผลกระทบทางคลินิกบางอย่าง

รูปการทำ Undercut ใน GVB Cl V รูปนี้ หายไปใน 13th ed ครับ

แต่ในขณะที่รูป basic อย่าง Sealant ดันยังมีอยู่เหมือนเดิม

เรื่อง Dental cement รูปแสดงการผสม Water-base cement ที่ท่านอาจารย์สอนในคณะ demon จนชินตา ไม่มีแล้วในเล่มล่าสุดครับ แต่ 13th ed ทดแทนด้วย ภาพการอธิบาย กลไกการก่อตัว และรูป SEM

เรื่อง Invesment ยังคงมีอยู่

สังเกตว่า ถ้ามี materials ในยุคเก่า ถ้ายังพูดถึงในเล่มล่าสุด ส่วนใหญ่ท่านอาจารย์จะยกรูปเดิมจาก 12th ed มาเลย

Amalgam เป็นบทที่ผมลุ้นมาก ว่า เล่มใหม่จะเขียนถึงอย่างไรบ้าง?

ในเล่มใหม่ Amalgam ถูกตัดออกไป 10 หน้าครับ
รูปก็ใช้รูปเดิมทั้งหมด ตามคาด

บทสรุป เรื่องการใช้ Amalgam filling ยังเหมือนกันทั้ง 2 เล่ม (ตราบใดที่ยังใช้ Hg เป็นส่วนประกอบอยู่ ยิ่งทำให้อนาคตของวัสดุตัวนี้ ริบหรี่ลงเรื่อยๆ)

รูปที่แสดง บทที่เพิ่มเข้ามาใน 13th ed (ไม่มีใน 12th และทุก edition ก่อนหน้า)

สิ่งที่น่าตกใจนอกจากความหนาของ Textbook ที่ลดลง และราคาของมันที่เพิ่มขึ้น คือ แนวโน้มของการเลิกใช้งานของทันตวัสดุบางตัวในอนาคต ซึ่งแน่นอน เกือบทุกตัวที่มีในคลินิก เรานำเข้ามาทั้งหมด โดยไม่มีการผลิตใช้ภายในประเทศ

ถึงแม้เราไม่อยากปรับตัว ในการทำงาน ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง ต้องการให้เหมือนปัจจุบันและทำงานให้เหมือนในอดีต เหมือนที่เราเรียนในคณะ ใช้วัสดุแบบที่อาจารย์สอน แต่ควรตระหนักว่า เนื้อหาใน Textbook จะ update ทุก ~ 5 ปี ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่เราอ่านใน Text เล่มล่าสุด คือ อ่านสิ่งที่อยู่ในอดีตเสมอ (Text ใช้เวลาเก็บข้อมูล และเขียน-proof แล้วตีพิมพ์) ในอีก 5 ปี ข้างหน้า Phillips’ Science of Dental Materials อาจไม่มีการเขียนเรื่อง Impression materials, Gypsum products และ Wax แล้ว เพราะประเทศต้นทางผู้ผลิต ไม่มีการผลิตวัสดุเหล่านี้มาใช้อีกต่อไป

ยกเว้นว่า คุณหมอวางแผนจะเกษียณ วางมือจากวงการทันตแพทย์ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องปรับตัวใดๆ เลย แต่ถ้ายังทำงานต่อไปเรื่อยๆ ในอีก 10 ปีข้างหน้า การเริ่มปรับตัวตั้งแต่ในปีนี้ ก็ยังไม่ถือว่าสาย

ขอใช้บทความนี้แทน ส.ค.ส. ส่งความสุขปีใหม่ 2566 นะครับ

Ref:

1. https://evolve.elsevier.com/cs/product/9780323697552?role=student&CT=TH

2. https://evolve.elsevier.com/cs/product/9781455748136?role=student&CT=TH

3. http://www.thebookbun.com/product/9980/ทันตวัสดุศาสตร์-เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลประเภทเรียบเรียงประกอบปาฐกถา-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-ผู้เขีย

4. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศ.พิเศษ ทพ. เจน รัตนไพศาล

พบกับ Smart phone ที่ทำให้ใจสั่น

พบกับ Smart phone ที่ทำให้ใจสั่น

นานมากแล้ว ที่ไม่ได้เกินความรู้สึกแบบนี้ ส่วนใหญ่ผมจะอยู่ในฝั่ง iPhone เป็นหลัก สำหรับ Android ที่ใช้จริงจังคือ SSG K Zoom, Sony Xzs และล่าสุดอยู่กับ Strix ได้ปีนึงครับ

ถ้าไม่นับ Notebook และ All in One PC Product ของ Asus เคยใช้ ROG 3 แค่ตัวเดียว

เมื่อวานพยายามออกจากที่ทำงานเร็วหน่อย ฝ่าฝนไป AIS CTW โดยคุยกับ Admin ใน FB inbox ก่อน พอไปถึงก็ใช้เวลาแป๊บเดียวครับ (ผมขอรับโดยไม่ Unbox)

Package ที่คุ้นเคย สำหรับคนที่เคยใช้ ROG Phone มาก่อน
เครื่อง Synnex
แต่ครั้งนี้ใช้กระดาษด้านครับ ตอน Strix กระดาษอาบมัน (ไม่แน่ใจ ROG 5 เพราะไม่ได้ใช้) ตรงลิ้นด้านบนสำหรับดึงเลื่อนออกมา
ตอนดึงลิ้นเลื่อน กลไกด้านข้างจะ Slide กล่องแยกออกมาเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกทางซ้ายมือของผู้อ่านคือ ส่วนที่เก็บพัดลม ด้านซ้ายเก็บตัวเครื่อง+เคส+Charge+Cable
ดึงกล่องเก็บเครื่องชั้นบนของ part ขวาออก ด้านล่างคือ Charger+Cable
ด้านซ้ายเป็นที่อยู่ของพัดลม Aero active cooler
ตัวเครื่องเก็บในกล่องกระดาษ อยู่ในซอง plastic อีกชั้น
การออกแบบ Package ละเอียดสุดยอดมาก ถ้าใครเพิ่งมาใช้ ROG Phone น่าจะตื่นตา
ถอดตัวเครื่องออกจากซอง
ปุ่มกด label สีฟ้าทั้งหมด ปกติจะเจอสีแดงเป็นส่วนใหญ่
ให้ความรู้สึกไม่ค่อยเหมือนเครื่องจากบริษัท China (น่าจะเป็น Lenovo ที่เคยทำมาก่อน)
SIM tray ใส่ Physical SIM ได้ 2 SIM มีตัวเลข label SIM 1 และ 2
ใส่ SIM 1
ok Ready
Start! (แสดงหน้าจอตอนเปิดเครื่องครั้งแรก)
ผมโอนย้ายข้อมูลจาก Mac เข้าเครื่องโดยใช้ OpenMTP ครับ
แสดง Files ฝั่ง Mac
จอฝั่งขวามือของผู้อ่าน คือ Files ฝั่ง ROG
แต่เจอปัญหาว่า Transfer ช้ามากครับ มีรูป 6xx รูป กับเพลงอีกแค่ 3 GB
เครื่องเปิด USB Debug เรียบร้อยแล้ว
เลยต้องเปลี่ยนแผน ผม search ดู ตัวนี้น่าจะ Work ครับ เลยลองติดตั้งใน Mac ดู
ติดตั้งเรียบร้อย มาลองใช้กันดู
หน้า Program แสดง Files ฝั่ง ROG จากนั้นใช้ drag&drop ตามปกติครับ
Work มากครับ ความเร็วการ transfer ดีมาก
Download ได้ที่นี่ครับ https://www.android.com/filetransfer/

ตอนนี้เครื่องอยู่ในมือยังไม่ถึง 24 ชม. ครับ กำลังลง app ที่ใช้จาก 14 PM ที่ใช้ประจำ (ตอนนี้ขาย 14PM ไปแล้ว แต่ผมใช้ iPad Air 5 กับ 14PM ลง apps เดียวกันทั้ง 2 เครื่องครับ คือ ใช้แบบ Clone เครื่อง )

ใครที่ใช้แบบเจออะไรบ้างมาคุยกันครับ

Ref: 1. https://openmtp.ganeshrvel.com

2. https://www.android.com/filetransfer/

3. https://www.ais.th/asus/rog-phone-series/rog-phone-6d/16-512gb/