ไม่ค่อยได้ลองกาแฟ McCafe จนมีน้องท่านนึงบอกว่า “อร่อยพอๆกับ Starbucks เลยค่ะ” จึงต้องมาลองด้วยตัวเอง
ทั้งที่ไม่ได้เข้าร้านแมคมานานมาก เข้ามาพบบรรยากาศแปลกตา ที่เห็น counter กาแฟแยกออกมาจาก counter หลักที่สั่ง Burger,สลัด และน้ำอัดลมครับ
น่าจะใช้เวลากินกาแฟนาน เลยถือโอกาสเปิดอ่านงานที่ค้างมาจากงานประชุมไปด้วยเลยดีกว่า (หัวข้อนี้จากงานประชุมวิชาการทันตแพทยสมาคมวันพฤหัสบดีที่ 14 มิ.ย. 2561 เวลา 13.30-15.00 น. ครับ)
โดยท่านอาจารย์ ร.ศ.ทพ.ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์ จากภาค Pros CU
(ผมเก็บสไลด์ได้ประมาณ 50% และเข้าใจเนื้อหาที่ท่านอาจารย์บรรยายได้ประมาณ 15% เท่านั้นครับ คำอธิบายจะอยู่ด้านบนของรูป ถ้ารูปใดที่ไม่มีคำบรรยาย ขอให้ท่านค้นคว้าและสอบถามท่านผู้รู้ต่อไปครับ)
เนื้อหาการบรรยาย ท่านอาจารย์จะพูดถึงหลักการพิจารณาทำ FMR พอให้เข้าใจแนวคิดพื้นฐานในปัจจุบัน ตามด้วย case presentation ของ Resident 4 เคส และเคสที่ท่านอาจารย์ร่วมทำกับท่านอาจารย์ภาค Surg 1 เคส (นำเสนอเป็นเคสสุดท้าย)
เริ่มกันเลย
ความรู้เรื่อง FMR ทั้งภาค lecture และคลินิก เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาการทำงานในคนไข้นานมาก จึงต้องเรียนกันเป็น course และด้วยเวลาที่มีอยู่ 2 ชม.ของการบรรยาย ท่านอาจารย์จึงแนะนำ Principle และแนวคิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน รวมถึง introduction เครื่องมือใหม่ๆ ที่มาร่วมช่วยการทำงานให้เกิดความเที่ยงและแม่นยำมากขึ้นโดยผ่านทางการนำเสนอ case presentation ดังจะได้กล่าวต่อไป
สิ่งที่ต้องการให้รู้ เริ่มด้วยแนวคิด –> case present–> device(และ software ใหม่ๆ ที่เก่งขึ้น)
Concept เริ่มที่คำจำกัดความของงาน FMR
Definition ทั้งหมด refer ตาม GPT version 9th
(Grossary of Prosthodontic Terms เดินทางมาถึงฉบับที่ 9 เมื่อปี 2017)
http://www.academyofprosthodontics.org/_Library/ap_articles_download/GPT9.pdf
ในกรอบสีเขียวที่ล้อมไว้คือ requirement ของ case สอบบอร์ดทันตกรรมประดิษฐ์ (Thai Board)
สังเกตว่า เป็นเคสที่ไม่ต้อง raise bite ก็ได้เพียงแต่เป็นงาน Fix 10 คู่สบเป็นอย่างน้อยครับ
แสดงการตรวจระบบ Occlusion เบื้องต้น
รูปนี้ refer จากหนังสือของท่านอาจารย์ Peter E Dawson แสดงส่วนประกอบของ Occlusion ทั้ง 4 ส่วนที่ทำงานเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
case present ในส่วนคนไข้ทั้ง 3 คน (3 รูปแบบตาม Category ของ Turner&Missirain)
Intra-Oral ของทั้ง 3 เคสเรียงตามกันในแนวดิ่ง
ใน case Erosion (ของผู้ป่วยหญิงเคสที่ 3) ท่านอาจารย์ได้แยก cause of pathology ออกมาให้ดู
เพราะ Erosion มีลักษณะที่เฉพาะต่างจาก pathologic attrition แบบอื่น
สังเกตในวงกลมสีเขียว inorganic part ของฟันไปหมดละครับจากกรด แต่ composite filling ยังคงอยู่แทบจะสมบูรณ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง
ความแตกต่างระหว่างการสึกแบบ Physiologic กับ Pathologic
มันจะสึกด้วย wear rate มากกว่า 3 เท่าครับ
ปัญหาสำคัญคือ เราจะทราบได้อย่างไรว่า ผู้ป่วย loss VD ไปจริงหรือเปล่า?
แสดงการวัด VD ด้วยวิธี Classic
VDO สังเกตว่าไม่ได้พูดถึงเฉพาะฟันนะครับ แต่รวม growth ของ skeletal อย่าง Ramus และ Elevator muscles ด้วย และมันมี development คือมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดอายุ
จาก Slide คือต้องเข้าใจว่า ทำไมต้องเอา TMJ ขึ้นมาก่อน แล้วตามมาด้วย Muscles แล้วไป Tooth
เพราะ Concept ของท่านอาจารย์ Peter E Dawson ไม่ว่าเราจะบูรณะฟันทั้งหมดขึ้นมายังไง แต่ถ้ามิติของสิ่งที่บูรณะนั้น ไม่ไปกับ Muscles of mastication และ TMJ แล้วจะเกิดความไม่เข้ากันหรือสงครามในระบบ Occlusion ครับ โดย Muscles จะถูก guide ด้วย TMJ ดึงให้ฟันพังไปก่อน (รวมถึง materials ทุกชนิดที่เราใส่เข้าไปเพื่อบูรณะ) –> ฟันสึก, Temp crown หลุด-แตก,Porcelain สึก-บิ่น-แตก
ฟันจะเป็นสิ่งแรกสุดที่จะพ่ายแพ้ในสงครามนี้ แล้วตามด้วย injury ของ Muscles และ TMJ
แสดง origin&insertion Muscle ที่สำคัญที่สุดในระบบ
OPG เพื่อดูภาพโดยรวม
ท่านอาจารย์ให้ข้อสังเกตว่า ฟันที่ wear มากๆ เหล่านี้ เรามักไม่ค่อยพบ lesion ทาง Endo
Transfer Facebow เข้า Articulator
เป็นการบอกทางอ้อมว่า ถ้าจะทำ case FMR ต้องมีเครื่องมือเหล่านี้ในคลินิก
แสดง Classification ของ Turner&Missirlain ปี 1984
paper อยู่ที่นี่ครับ
ท่านอาจารย์แนะนำว่า Category 1 ทำได้, 2 แตะได้ แต่ถ้าเจอ Category 3 ควร refer ครับ
บางคนกลัวงาน Wax up ขั้นตอนนี้ส่ง Lab ให้ช่างทำได้ครับ เพื่อให้เรามองภาพให้ออกและได้ idea เพิ่ม
ถ้ามาแนว Peter Dawson ก็ต้องเริ่มต้นด้วย Occlusal splint หละครับ
ให้สังเกตความสำคัญ ความหนาของ Splint จะเท่ากับ required VD
(โลหะที่มองเห็นคือ ตะขอ Ball นะครับ หลายคนอาจจะไม่เคยเห็น เพื่อเพิ่ม retention ของ Splint คือต้องเข้าใจว่า อันนี้คือคนไข้ฟันสึก ความสูงของ clinical crown จะลดลง retention จาก fiction ของ Splint อาจไม่พอ)
อันนี้ไม่น่าสงสัยว่าจะใช้จุดไหนเป็นตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งจบในการบูรณะ
คำตอบคือ CR เพราะเป็นตำแหน่งที่อ้างอิงถึง TMJ
Definition ล่าสุดของ CR ใน GPT-9
ท่านอาจารย์เน้นว่า บางคนคิดว่าตำแหน่งถอยสุดคือการดัน mandible ถอยไปข้างหลังเลย อันนั้นไม่ใช่ CR นะครับ
ตำแหน่ง CR คือตำแหน่งที่พอ guide ให้คนไข้เข้าแล้ว จะรู้สึกสบายที่ขากรรไกรที่สุด
มีข้อสังเกตว่า หลายครั้งเราทำ tooth preparation แล้วพบว่า tooth reduction ไปแล้วแต่ loss of occlusal space in posterior teeth งงมั๊ยครับ?
ความหมายคือ คนไข้เดิมไม่ได้อยู่ใน CR แต่พอเราทำ tooth reduction (เช่น ระหว่าง prep crown) แล้ว check space ที่ควรจะมีหลังจาก prep แต่ในปาก พอบอกให้คนไข้สบฟัน พบว่า กลับไม่มี space เลยหรือ มีแต่น้อยกว่าที่ reduce มาก —> นั่นแสดงว่า ฟันซี่นั้นเป็น interference ครับ เมื่อกำจัดส่วนที่ interfere ออก จึงทำให้การสบฟับกลับเข้าสู่ CR ได้ทันที
list 3 ข้อล่างสุดคือ อาการที่เราอาจตรวจพบข้อบ่งชี้ว่า mandible มีจุดขัดขวางการเข้าสู่ CR
ฉะนั้น ถ้าไม่เริ่มที่ CR เราจะไปสร้าง Prosthesis ใดๆ ที่หน้าต่อ CR จึงเป็นการขัดขวาง mandible เข้าสู่ตำแหน่ง CR ไปในตัวนั่นเอง
วิธี guide คนไข้เข้า CR ยังคงไม่มีอะไร update
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การใช้ Lucia jig
Lucia jig นี่ทำ chair side ได้เลยนะครับ ใช้ Self-cured acrylic ที่มีอยู่ในคลินิกได้เลย
ไม่จำเป็นต้องใช้ acrylic สีแดงครับ (บางคนเห็นแต่ Lucia jig ที่ไหนก็ใช้สีแดงหมด เลยเข้าใจว่า ต้องใช้สีแดงปั้นเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่นะครับ)
หลักการเข้า CR ด้วย Lucia jig คือทำให้เกิดสภาวะสมดุลของ mandible แบบเก้าอี้ 3 ขา โดย 2 ขาหลังของเก้าอี้คือ TMJ ทั้ง 2 ข้างครับ และขาที่ 3 คือฟันหน้า
เราใช้ acrylic ปั้นแล้วให้คนไข้กัด (ระวังเรื่อง heat ข้อดีของ acrylic สีแดงมันคือตรงนี้ heat น้อยมากๆ)
ฟันหน้าบนจะเป็นตัว lock jig และให้ retention & stability เพื่อไม่ให้ jig ขยับขณะฟันหน้าล่างเข้าตำแหน่ง CR ครับ
หลังจากรอจน set เราจะกรอแต่งจุดที่ฟันหน้าล่างกัดให้เป็น flat plane ครับ เพื่อให้เกิดอิสระในการสบฟัน เมื่อใส่เข้าตำแหน่งเราใช้ articulating papaer ปรับจนมีอิสระให้การสบฟันสามารถทำ protrude ได้ตลอดแนวระนาบ flat plane นั้น
เมื่อเก้าอี้ขานี้เสร็จ เก้าอี้อีก 2 ขาที่ TMJ จะปรับเข้าสู่สมดุลได้ (แน่นอนว่าขณะที่ใส่ Lucia jig ฟันหลังจะถูกยก ไม่แตะกันซักซี่) แล้วจึงใช้ recording media ในการบันทึกฟันหลังขณะใส่ jig นี้ในปาก
บางคนอาจเข้าใจว่า คนไข้ FMR ทำให้เขา function ได้แต่ไม่ค่อยได้ esthetic
ท่านอาจารย์เน้นย้ำตรงนี้ว่า ทำให้ไปด้วยกันได้ทั้ง 2 อย่างครับ
ทบทวนเรื่องความสำคัญของ Anterior Guidance
รูปลายเส้นที่เห็น ถ้าจำกันได้มันคือ ขอบเขตของการเคลื่อนที่ของ mandible ทั้งหมดว่า สุดขอบนั้นมันไปได้เท่าไหร่ เรียกว่า Posselt’s diagram ส่วนพื้นที่สีเหลืองรูปคล้ายหยดน้ำคือ พื้นที่ที่มนุษย์ใช้บดเคี้ยวในชีวิตประจำวัน เรียก Chewing cycle
ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราหาว mandible มันจะไม่อยู่ใน Chewing cycle แต่ยังอยู่ใน Posselt’s diagram นะครับ
แต่ถ้าจะออกจาก Posselt’s diagram คือต้องอ้าปากกว้างๆ แบบในหนัง zombie ที่อ้าปากกว้างๆเพื่อจะกัดคนเท่านั้น Condyles ของ zombie จะเคลื่อนหลุดออกจาก Glenoid fossa ทำให้ไม่อยู่ใน hinge axis อันนั้นหละคือ mandible ของ zombie จะเคลื่อนออกจาก Envelop of mandibular movement ของมนุษย์
ความชันทางด้าน Palatal ของฟันหน้าจะยก cusp ฟันหลังออกไปทั้งหมด –> ฟันหน้าจึงช่วย protect ฟันหลัง และไม่ให้เกิดการกัดกระแทกของ cusp ฟันหลัง
อันนี้คือความสำคัญของ ความชันด้าน Palatal ฟันหน้าบน(ความชันนี้เรียกอีกชื่อคือ Anterior guidance)
เวลา check Occlusion ถ้าเริ่มจาก CR เราจะได้การติดสีของ articulating paper ที่ใช้ check แบบ Pattern นี้ครับ
“เป็นจุดในฟันหลัง, เป็นเส้นในฟันหน้า”
คือ ใน Centric จะสัมผัสเป็นจุด แต่เมื่อ Eccentric movement จะเลื่อนไถลเป็นเส้นในฟันหน้า ส่วนฟันหลังจะยกออกทั้งหมด (เหลือเพียงจุดใน Centric ให้เห็นเท่านั้น เพราะถ้าเกิด line in the back จะเป็น interference)
สรุปรวบรวมสิ่งที่พูดมาข้างต้น เป็น Goal
สังเกตว่ามี Esthetic เป็น goal ด้วยนะครับ
เชื่อมโยงการตรวจและการวางแผนการรักษา
กรณีแรกสุดจะใช้ตำแหน่ง MI ครับ นอกนั้นถ้า TMJ กับ muscles ไม่ healthy ให้ใช้ CR
ข้อ 3 นี่คืออาการหนักสุด
กาแฟส่วนใหญ่ที่ขายในไทยจะใช้กาแฟพันธุ์ Robusta ครับ เพราะเมล็ดกาแฟพันธุ์นี้ให้เนื้อเยอะ,ราคาถูกและมีปริมาณคาเฟอีนที่สูงกว่ากาแฟพันธุ์ Arabica (อันนี้คงแล้วแต่คนชอบ เพราะแต่ละคนมี tolerance caffeine ไม่เท่ากัน)
ถ้าคนที่ดื่ม Robusta แล้วใจสั่น แต่พอมาดื่ม Arabica แล้วกลับปกติ ก็พบได้ครับ
แต่กาแฟของ Mc Cafe ใช้พันธุ์ Arabica 100% ครับ แน่นอนว่านอกจากข้อเสียเรื่องราคาแล้วข้อดีคือ มีคาเฟอีนต่ำกว่าซึ่งเหมาะกับคนที่รับคาเฟอีนได้น้อยหรือคนที่รับได้ปกติแต่อยากดื่มได้ซัก 2 แก้วใน 1 วัน เช้า/บ่ายครับ
จบเรื่องแนวคิดของ FMR มาถึงการนำเสนอเคสครับ
เคสแรก
OPG
จะเห็นว่า แม้ฟันสึกมาก แต่กลับไม่ค่อยมีรอยโรคปลายรากครับ
เคสนี้เริ่มด้วย Splint
Wax up
สูตรที่แสดงคือสูตรจาก Hanau quint เรียก Theilman’s Formula
เป็นการนำกฎของ Hanau ทั้ง 5 ข้อมาเพื่อออกแบบ Occlusal schemr โดยการเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆ
สังเกตว่า ค่า Condylar inclination และ Occlusal plane จะ fix (เป็น anatomy ที่ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน)
ส่วนอีก 3 ค่าที่เหลือทั้ง Incisal guidance, Cuspal inclination (Cusp height), Compensating curve เราปรับให้เหมาะสมได้
ต้องเข้าใจว่า มันมีพื้นฐานมาจาก Occlusal scheme แบบ Balance occlusion ที่ใช้ใน CD นะครับ แต่มีการปรับเพื่อนำมาใช้ในฟัน Non-balance occlusion
จาก Wax up เปลี่ยนเป็น Composite mock up ใส่ในผู้ป่วย
Final Prep&Final impression
เข้า CR ด้วย Lucia jig
สังเกตว่า ใส่ Temp ในฟันหน้าล่าง เพื่อ check การเคลื่อนบน flat plane ได้
ใช้ Pindex system
อันนี้ผมเพิ่งเคยเห็นครับ
มันคือ Temp crown ที่สร้างจากการกลึง (จริงๆ ต้องเรียก Provisional restoration ได้เลย)
เปลี่ยนเป็น Final prosthesis
OPG หลังการรักษา
เทียบ Before & After
Device นี้ผมเพิ่งเคยเห็นครับ เครื่อง Digital Occlusal Analysis
วัดตำแหน่งและแรงกดได้ทั้ง Centric และ Dynamic
10 ปากว่า ไม่เท่าดูคลิป
เคสที่ 2 ครับ
เคสนี้ตาม Category 2 ของ Turner&Missirlain คือฟันสึก-ไม่ loss VD-มี space พอ
(เคสแรกที่เพิ่งผ่านมาคือ ฟันสึก-loss VD นะครับ ลืมบอกไป)
Intra-Oral
OPG
ฟันสึกแต่ vital ทุกซี่ครับ
ท่านอาจารย์แก้ปัญหา Core build up ด้วยการใช้ Amalgam pin แล้ว build up ด้วย Composite resin (ขออภัย ผมคุ้นเคยกับคำนี้มากกว่า resin composite ครับ)
เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดมาก ทำให้ไม่ต้อง RCT เพื่อ Post&Core
แต่บอกเลยว่า จริงๆ การปัก Pin ชนิดนี้ไม่ง่ายนะครับ ปัญหาไม่ใช่เรื่อง expose pulp แต่คือการ perforate ต่างหาก หลักการของมันคือ ต้องเล็ง External tooth surface ให้ดี (long axis ของ pin ต้องขนานกับ External root surface) และบริเวณที่ปักต้องมี dentin ล้อมรอบพอครับ
เคสนี้ยังใช้การเข้า CR ด้วยเทคนิคเดิม
Transfer facebow เข้า Articulator ใช้ Pindex system
Temporary prosthesis
Final prosthesis
เคสนี้ design ด้านกัดสบเป็นโลหะทั้งหมดเลย (สังเกตว่าต่างจากเคสแรกที่เป็น Catagory 1)
OPG หลังทำ
Full mouth x-ray เพื่อ check ปลายรากหลังทำ
รูป Before&After
เคสที่ 3 คือ เคสที่ฟันสึกจากสาเหตุ Erosion
Wax up แบบฟันสึก แต่ไม่ loss VD ครับ
ใส่ Composite mock up
Final pros เคสนี้ไม่ใช้ metal เลย
รูป Before& After
ให้สังเกตความยาวของปลาย Edge ฟันหน้า เวลา Protrusive ครับ
Esthetic กับ Function ไปด้วยกันได้ (ใน Centric ยัง Deep bite เหมือนเดิม)
เคสที่ 4
เป็นการแสดงถึงการนำเครื่องมือและ software ทาง Digital มาช่วยในการทำงานด้าน Esthetic
ภาพ OPG
Intra-Oral
ผมไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือพวกนี้ ดูรูปไปละกันนะครับ
Midline shift, proportion ฟันไม่ได้, ระดับ Free gingival ไม่ symmetry, แน่นอน สีก็ไม่ได้
ตรง Cantilever #12 ใช้ Implant แทน Pontic ครับ
ร่วมกับการดึง Dental midline ให้เข้ากับ Facial midline และ Leveling ระดับปลาย Edge ฟันหน้าด้วย Ortho
ฟันเข้าอย่างเร็ว 2 wk เอง สังเกต Dental midline บน/ล่างตรงกันละ
ก่อน/หลัง ถอดเครื่องมือ
ต่อไปเป็นงาน Pros อันนี้คือการสร้าง mock up เป็น guide เพื่อให้ Perio เอาไปทำ Crownlength ครับ
ทำเป็น Vacuum shell ให้ดูระดับ Clinical crown ที่ต้องการ
รูปเริ่มต้น/ ระหว่าง Ortho/ หลังทำ Esthetic crown lengthening
สิ่งที่ได้คือ ความยาว Clinical crown ที่เพิ่มขึ้น, ระดับ Free gingival margin และ Midline ที่ symmetry
แต่สิ่งที่ยังขาดคือ สีฟัน (ที่คนไข้ต้องการ), Proportion ของฟัน
Final Prep
Final prosthesis
รูป 3 step ก่อน/หลังถอด Ortho/Final pros
อันนี้คือต่อมา คนไข้อยากแก้ที่สีเหงือกครับ วิธีคือใช้ LASER เข้าไปทำลาย melanin pigment และไป downgrade function ของ melanocytes ทำให้ melanocytes บริเวณนี้ผลิต melanosome ที่ไม่สามารถพัฒนาจน mature ได้อีกต่อไป
เคสที่ 5 เป็นเคสที่ซับซ้อนสุด
อลังการงานสร้างมาก ผมไม่ค่อยเข้าใจนัก รับชมรูปไปเพลินๆ ละกันนะครับ
Implant ตำแหน่งที่เห็นทั้งหมด คือฝังมาจากที่อื่นครับ
มาด้วยอาการชาที่ริมฝีปากล่างซ้ายด้วย
ก่อนอื่นเลย ต้องคิดถึงการ Recovery ของ nerve ก่อน
เอา Implant ออกเป็นอันดับแรก
แล้ว Graft เป็น Box bone graft และเคสนี้ให้ Methylcobalt ด้วย
ฝัง Implant ใหม่ร่วมกับ Ortho
มี Perio เข้ามาทำ Esthetic crown length
มี Oper เข้ามาปรับรูปร่าง Clinical crown ด้วย Composite filling บริเวณคอฟัน (ลองคิดดูว่า ทำขณะติดเครื่องมือ Ortho อยู่ด้วย ถือว่ายากมาก)
รูป ก่อน/หลัง Crown length/หลังถอดเครื่องมือ
รูปหลังถอดเครื่องมือ ก่อนจะเข้างาน Pros
อันนี้จะเข้าสู่ Device ต่างๆ ที่จะเข้ามามีบทบาท
ท่านอาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่า เวลาซื้อ Hardware ให้ดูส่วนของ Software ว่า bundle มาด้วย หรือต้องมาซื้อเพิ่มทีหลัง ซึ่งบางครั้งเจอว่า ราคา Software ที่ต้องซื้อเพิ่มแพงกว่าเครื่องครับ
โดยสรุปตรงนี้คือ Digital จะเข้ามาทำงานตั้งแต่การออกแบบ/ Wax up/ Mounting เข้า Articulator/กลึงชิ้นงานเลยครับ
ใช้ครับ ท่านฟังไม่ผิด คือ ใช้ Software Wax up กันเลย โดยไม่ต้องทำบน cast ปูน
ใช่ครับ ท่านฟังไม่ผิด ที่เห็นนี่คือ ใช้ Software เข้า Virtual Articulator ครับ
ปรับมุม Incisal table และมุม Condylar inclination ได้เหมือน Articulator ปกติ และพิเศษไปกว่านั้น คือ มัน movement ได้โดยการเคลื่อน lower arm ได้เหมือน mandible จริงครับ (Articulator ที่พวกเราใช้กัน ไม่ว่าจะเป็น arcon หรือ non-arcon type ต้องเคลื่อน cast บนที่ติดกับ upper arm เท่านั้น ไม่สามารถขยับ lower arm ให้เหมือนคนจริงๆ ได้)
ลองดูการทำงานจริงของ Virtual Articulator
design shape ฟันทุกซี่กันบนจอกันเลยทีเดียว
Occlusal table ก็ design กันแบบนี้ (โดยไม่ต้องเทปูน carve wax)
แล้วส่งข้อมูลไปกลึงชิ้นงาน จนเป็น Final pros fix ในปากครับ
รูปตอนเปลี่ยนเป็น Composite mock up
ก่อน/หลัง Composite mock up extra-oral
อันนี้จาก Mock up เปลี่ยนเป็น Temp crown นะครับ ยังไม่ใช่ Final
การติดสีของ Occlusion ใน Centric
Check ใน Eccentric ด้วย แสดง Line in the front
สังเกต Canine จะติดสีชัดสุด เพราะเป็น Occlusal scheme แบบ Canine protect occlusion
หลังจากใช้งาน Temp จนเกิด Harmonize occlusion
สังเกตรอยสึกจากการใช้งาน ไม่มี Temp แตก, Temp หลุด แสดงว่า สามารถทำให้ Centric อยู่ที่ CR position ได้จริง จึง transfer ข้อมูลจาก Temporary pros ไปสร้าง Final prosthesis
OPG Final pros
รูปแสดง ก่อน/surg-Ortho/Perio-mock up/Final pros
ตรวจสอบ Occlusion ด้วย Digital Occlusal Analysis
รสชาติกาแฟของ Latte ดีมาก ไม่ออกหวานครับ ถึงเป็น Arabica ที่มีปริมาณ caffeine น้อยแต่รสชาติกาแฟก็ไม่ถือว่าเบาบาง มีกลิ่นกาแฟติดปากค่อนข้างนานครับ สูตรของ Mc ค่อนข้างกลมกล่อมเลยทีเดียว
และถ้าเทียบความคุ้มค่าจากราคา ในแก้วขนาด 12 oz ที่เท่ากับแก้ว tall ของ Starbucks พบว่า iced latte ของ Mc ถูกกว่าถึง 1 เท่าตัวครับ
อันนี้คือราคาของ Starbucks
ราคาของ Mc อยู่ที่แก้วละ 75 บาท ซึ่งถ้าซื้อด้วยบัตร Rabbit จะลดอีก 10% เหลือ 67 บาทครับ
ถ้าคิดว่า กินกาแฟ 1 แก้ว+ที่นั่งอ่านหนังสือหรือพิมพ์งานนานๆ ด้วยรสชาติกาแฟที่ผ่านมาตรฐานและราคาที่สมเหตุผล Iced Latte ของ Mc Cafe ถือว่าคุ้มมากครับ