วิธี Set ให้ iPhone อยู่ใน Low Power Mode ตลอดเวลา

ปกติเมื่อเราทำให้เครื่องอยู่ใน Low Power Mode (LPM) iOS จะ “ปิด” mode นี้เมื่อเครื่องถูกชาร์จ หรือ มีความจุ Battery 80% ขึ้นไป

ทำให้เราต้อง “เปิด” LPM จาก Settings –> Battery อีกครั้ง

วิธีนี้คือ การทำให้เครื่องอยู่ในสถานะ LPM แบบตลอดเวลา แม้ถอดสายชาร์จแล้ว เครื่องก็ยังอยู่ใน LPM โดยเราไม่ต้องเข้าไป Settings อีกครั้งครับ โดยใช้ความสามารถ Automation ของ App Shortcut ที่อยู่ในเครื่อง เดิมๆ อยู่แล้ว

( Shortcut app พัฒนามาจาก Workflow app เริ่มใช้ใน iOS 12 ปี ค.ศ. 2018 และกลายเป็น Shortcut app default ใน iOS 13)

วิธีทำ

1. เปิด App Shortcut แล้วเลือก Automation

2. Create personal automation

3. จาก New automation เลือก LPM

4. ปิด turn on

5. เปิด turn off

6. จากช่อง search ด้านล่างสุด พิมพ์หา Low power mode

7. จากนั้นเลือก Scripting “Low Power Mode”

8. เลือก Turn Low power mode on

9. เพราะเราต้องการให้ Automation นี้ทำงานโดยไม่ต้องมี pop up ถามซ้ำอีก ให้เลือก Don’t ask โดย toggle Ask before running ออก

10.

11. ขั้นตอนสุดท้าย กดที่ Done เป็นการสั่ง Automation โดยสมบูรณ์

12. หน้าตา Automation ที่สร้างเสร็จ

ลองมาทดสอบกัน จะเห็นว่า ถ้าเรา on LPM จะไม่สามารถออกจาก mode นี้ได้เลยจาก Settings ครับ

ทีนี้ ถ้าเราต้องการให้เครื่องกลับสู่ สถานะปกติ ต้องไปปิดการทำงานของ Automation ที่สร้างไว้ครับ

1. เปิด app Shortcut เข้า Automation

2. เจอ Automation LPM ให้กดเข้าไปครับ

3. toggle ปิด Enable this automation (ถ้าเราจะเปิดใช้อีก ก็มา toggle Enable นี้ให้เป็น on ใหม่)

ลองมาทดสอบการปิด เครื่องออกจากสถานะ Always LPM

Ref:

1. https://en.wikipedia.org/wiki/Shortcuts_(app)

2. https://support.apple.com/th-th/HT205234

3. https://www.idownloadblog.com/2022/07/05/how-to-always-keep-iphone-in-low-power-mode/?fbclid=IwAR0lpyf4EZTS6DXyOEMK30Uj9D4QZmWRwV3r5wMRn3VFpu4fqO02MgL0AnY

เมื่อเรามาถึงวันที่ต้อง Up firmware Powerbank

เมื่อเรามาถึงวันที่ต้อง Up firmware Powerbank

ในวันที่ Apple เปิดตัว Magsafe battery pack (.. 2564)

ยอมรับว่าเป็น Apple product ตัวนึงที่ผมมองข้ามไปเลย เพราะ Powerbank ขนาดความจุ 1,460 mAh ราคา 3,690 บาท คิดในแง่ไหน มันก็แพงมากครับ ถึงแม้มันจะเป็น Magsafe ก็เถอะ

(โลหะที่ใช้ใน Magsafe accessories ของ Apple คือ Neodymium magnet (N45SH grade) สำหรับ MagSafe case และ N48H grade magnet สำหรับ MagSafe acessories ตัวอื่นๆ เช่น MagSafe ที่ใช้ใน Battery pack หรือ Powerbank ตัวนี้)

ทำไมต้องใช้ Neodymium magnet grade นี้?

เหตุผลเพราะ Wireless charge ตาม Qi standard จะเกิดการ loss พลังงานที่ Output ออกมากลายเป็น Heat (ตาม 2nd law of Thermodynamics) ซึ่งโดยคุณสมบัติของแม่เหล็กธรรมชาติ (ตัว Alloy มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กโดยไม่ต้องมีกระแสไฟฟ้าผ่าน คือ วางอยู่เฉยๆ ก็แสดงความเป็นแม่เหล็กได้เลย) แม่เหล็กธรรมชาติเมื่อได้รับอุณหภูมิสูงมาก ความเป็นแม่เหล็กของมันจะค่อยๆ สูญเสียไป

ซึ่ง Neodymium magnet SH grade จะทนความร้อนได้ถึง 150 °C แต่ magnet grade นี้จะใช้ % Heavy rare earth ที่สูงกว่า grade ธรรมดา เช่น N grade อื่นๆ ซึ่งบริษัท 3rd parties ที่ผลิด MagSafe accessories ส่วนใหญ่จะใช้ N grade ที่ไม่ resist High temperature ทำให้ลดต้นทุนการผลิดได้มากกว่า MagSafe ของ Apple ทุก products ที่ใช้ MagSafe

แสดงตาราง Rare earth element บางส่วน

ในที่นี้ให้ดู Nd

แสดงตำแหน่งของ Rare earth element ทั้ง 17 ตัวในตารางธาตุ (เกือบทั้งหมดเป็น Transition metal ใน Lanthanide series คือ คาบที่ 3 ของ Transition metal สำหรับทันตแพทย์ Pt, Au และ Hg ก็อยู่ในคาบเดียวกันนี้ แต่ไม่อยู่ใน Lanthanide series นะครับ เพราะ Pt, Au, Hg ไม่มี Chemical property คล้าย La (Lanthanum))

เมื่อเดือนที่แล้ว เข้าไปดู Mac Studio ใน Apple store CTW บังเอิญไปเจอ MagSafe battery pack วางขายในร้าน (ขายในร้าน ไม่ขาย Apple store online ซึ่งก็แปลกดี)

แสดง Mac Studio

MagSafe battery pack

เลยซื้อมารีวิว เพื่อให้หายความสงสัยในใจ แล้วค่อยขายต่อดีกว่า

Clip แสดง MagSafe animation เวลาใช้งาน (MagSafe animation จะพบได้ใน MagSafe product ของ Apple ทุกตัว แต่จะไม่พบใน MagSafe accessories จากบริษัทอื่นๆ)

Default จะตั้งค่าให้ Charge ได้ที่ 90% แต่ถ้าเราต้องการเปลี่ยนไม่ให้ limit ที่ 90% สามารถปรับที่ Settings ได้

ในขณะที่ซื้อมานั้น Apple ยังตั้งให้กำลังไฟของ MagSafe Battery Pack ที่ Output ออกมาอยู่ที่ 5W (ถ้าเสียบชาร์จ MagSafe ด้วย Wall charge 20W ขึ้นไป แล้วติด MagSafe Battery Pack กับ iPhone จะชาร์จด้วย Output 15W)

ในการใช้งานจริง

Crop graph ออกมา

ถ้าคิดแบบตรงๆ (โดยไม่สนรูปร่าง S-curve ของ graph ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด)

13Pro มี Battery = 3,095 mAh 3.83 V = 3,095 x 3.83 = 11.853 Wh

MagSafe Battery Pack มี Battery = 1,460 mAh 7.62 V = 1,460 x 7.62 = 11.125 Wh

Powerbank จะชาร์จได้ = (0.85 x 11.125)/11.853 = 0.797 รอบ ~ 80% ของความจุ Batt 13Pro

(คิดการ loss Energy ของ Powerbank ที่ 15%)

Charging speed = 5W

อัตราการชาร์จ = 11.853/ (0.85×5) = 2.79 h = 167.4 min = 0.597%/min ~ 0.6%/min

เป็นอัตราการชาร์จแบบคงที่ ขึ้นกับความจุของ Battery ยิ่ง % batt สูง อัตราการชาร์จยิ่งช้าลง (ตาม S-curve)

หมายความว่า ยิ่งเข้าใกล้ 80% อัตราการชาร์จต้องน้อยกว่า 0.6%/min

จาก graph ชาร์จจาก 70%–>80% = 10%/38 min = 0.26%/min (ที่ Charging speed = 5W)

แสดงสถานะ MagSafe Battery Pack ก่อน Up firmware อยู่ที่ version 2.5.b.0

ทำการ Up firmware ผ่าน USB-A ของ Macbook Air

ไม่มีสถานะการ Update ใดๆ แสดงเลยครับ ต้องกะเวลาอย่างเดียว ใช้เวลา ~ 5 min

การตรวจสอบทำได้โดยนำมาชาร์จ iPhone เท่านั้น จะเห็นว่า firmware version เปลี่ยนเป็น 2.7.b.0

มาดู graph ในการชาร์จเทียบกับก่อนหน้า

Charging speed = 7W

จาก graph 70–> 84% ในเวลา 24 min = 14/24 = 0.583%/min ~ 0.58%/min

มากกว่าก่อน Up firmware = 0.58/0.26 = 2.23 เท่า (สอดคล้องกับตัวเลข Output 7/5 = 1.4 เท่า)

สรุป คือ หลัง Up firmware Charging speed เร็วขึ้นจากการใช้จริง เพิ่มจากเดิม ~ 2 เท่า ในช่วงความจุ 70%+

ถ้าความจุแบตเริ่มต้นเปลี่ยนไป speed ของ MagSafe battery จะแปรผันในช่วง 0.2-0.6%/min

นั่นคือ

ในครึ่งชั่วโมงจะชาร์จได้ความจุเพิ่มขึ้น 6%- 18% ขึ้นกับความจุเริ่มต้นของ iPhone ครับ

Ref:

1. https://www.macrumors.com/guide/magsafe-battery-pack/

2. https://sourcemagnets.com/wireless-charging-magnet/

3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81

4. https://en.m.wikipedia.org/wiki/Rare-earth_element

5. https://www.macrumors.com/guide/magsafe-battery-pack/

6. https://en.m.wikipedia.org/wiki/IPhone_13_Pro

หนังสืออ่านย้อนเวลาสำหรับทันตแพทย์ 33+

วันนี้ 15 เม.ย. 2565 ยังเป็นวันหยุดงานช่วงสงกรานต์ เจอใน fb ว่ายังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง

ผมลองค้นเพิ่ม พบว่า มี version ของ Series เรื่องนี้ที่เขียนขึ้นใหม่โดยท่านอาจารย์ รัชนี เขียนลงใน a day ครับ ชื่อหนังสือ ทางช้างเผือก

ทำให้อยากอ่าน Series ชุดนี้อีกครั้ง เลยค้นเจอในรูปแบบ PDF ครบทั้ง 12 เล่ม

download กันได้ที่ link

http://www.anantasook.com/thai-book-manee-mana-piti-choojai/

พอกด link PDF จะเข้าไปที่ Google drive ครับ

เข้ามาเจอหน้านี้

ผมแตะที่เล่มแรกสุด จะเป็นการเปิดอ่านตรงๆ ใน drive

ให้กดตรง ellipsis ด้านบนขวาของผู้อ่าน (จุดไข่ปลา 3 จุด)

จะเจอ Drop down menu ให้เลือก Open in

เลิอก Import with iBooks

หนังสือจะจัดเก็บเข้า Shelf ของ iBooks เรียบร้อยครับ

(ทำแบบเดียวกันในทุกเล่มที่อยู่บน Google drive)

Ref:

1. https://m.facebook.com/manamaneepitichuejai/photos/a.309700765852386/2209298969225880/?type=3&source=48

2. https://www.goodreads.com/book/show/18270595

3. http://www.anantasook.com/thai-book-manee-mana-piti-choojai/

Henderson-Hasselbalch equation

Pharmacodynamic ของยาชาที่คุ้นเคยในรูปนี้

ครั้งแรกเมื่อมองผ่านๆ ผมเข้าใจว่า น่าจะเป็น Lidocaine ที่พวกเราคุ้นเคยที่สุด แต่พบว่า มันไม่ใช่ครับ

ถ้าดูตามตารางแล้ว pKa = 7.9 ตัวนี้คือ Etidocaine (เข้าใจว่าที่ใช้ตัวนี้เป็น model เพราะคิดตามสมการแล้วจะได้ การปัดเป็นจำนวนที่ลงตัว และสื่อความหมายได้ง่ายที่สุด)

ให้มองที่ column % Base (RN) at pH 7.4

แล้วกลับมามองที่รูปนี้อีกครั้ง

ในการสมมติที่โมเลกุล Etidocaine 1,000 โมเลกุล จาก table 1-4 แตกตัวให้ [RN] 25%

จากรูป จึงเป็น [RNH+] 750 โมเลกุล + [RN] 250 โมเลกุล = 1,000 โมเลกุล

แสดงที่มาด้วย Henderson-Hasselbalch equation ได้ดังนี้

ความสัมพันธ์ของ Ka คิดขึ้นมาโดย Lawrence Joseph Henderson จากการศึกษาเรื่อง Blood gas analysis ในปี ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451 ก่อนปีสวรรคตของ ร.5 เพียง 2 ปี)

ส่วนประกอบนี้ Henderson เป็นผู้คิด

Lawrence Joseph Henderson

แต่ในปีนั้น โลกยังไม่รู้จักคำว่า pH ครับ

ต้องรออีก 1 ปี คือ ปี ค.ศ. 1909 Søren Peter Lauritz Sørensen เป็นผู้ให้กำเนิด definition ของ pH

ทำให้ในปีเดียวกัน Karl Albert Hasselbalch เป็นผู้ทำให้สมการชุดนี้สมบูรณ์ ด้วยการ take Log เข้าไป

Hasselbalch take Log สมการทั้งหมด (เมื่อรวมกับ pH ที่ Sorensen นิยามไว้ สมการจึงสมบูรณ์)

Karl Albert Hasselbalch

ต่อไปนี้จะเป็นการพิสูจน์ตัวเลขใน Textbook ” Handbook of LOCAL ANESTHESIA” ของ Stanley F. Malamed ในบทที่ 1 ด้วยสมการ Handerson-Hassalbalch นะครับ ถ้าใครที่ไม่สนใจเรื่องตัวเลขว่ามีที่มายังไง? ให้ผ่านส่วนนี้ของบทความไปเลยครับ (ผมจะจบ part นี้ด้วยคำว่า “สิ้นสุดการพิสูจน์”)

ลองทดสอบ สมการนี้ในการอธิบายตัวเลขชุดแรกในรูป

ข้อมูลที่มีคือ tissue มี pH = 7.4 และ Etidocaine มี pKa = 7.9

แก้ Log

นั่นคือ Etidocaine 1,000 โมเลกุล จะแตกตัวให้

[RN] = 24% = 240 โมเลกุล

[RNH+] = 76% = 760 โมเลกุล

หลังจากนั้น [RN] ~ 250 โมเลกุล diffuse ผ่าน nerve sheath

จึงมีการปรับสมดุลใหม่ของ [RNH+] ที่มีอยู่เดิม ~ 750 โมเลกุล ใหม่ เป็นการแตกตัวรอบ 2

[RN] = 180 โมเลกุลที่ถูกสร้างรอบที่ 2 ก็จะ diffuse เข้าไปใน nerve sheath รอบใหม่ตามรูป

ในรอบนี้ สมดุล [RNH+] จะ = 569.82 ~ 570 โมเลกุล

จากนั้น ขบวนการเกิด Reequilibration อีกครั้ง (รอบที่ 3,4,…จนสารตั้งต้นหมด) ในสมการซ้ำเดิมที่

[RN]/[RNH+] = 0.3162

แต่จำนวนโมเลกุลของ Etidocaine ตั้งต้นที่เปลี่ยนไปในแต่ละรอบ

เช่น [RNH+] 180 โมเลกุล + [RN] 70 โมเลกุล = โมเลกุลทั้งหมด 250 (ในรอบใหม่) เสมอ ตามรูป

ในรูปด้านล่างก็ใช้หลักการเดียวกัน แต่อย่าลืมว่า

สำหรับ Etidocaine ในเงื่อนไข

[RN}/[RNH+] = 0.3162 หรือ ratio [RN] + [RNH+] = 25 %+ 75 %= 100 % ต้องเกิดในสภาวะที่ tissue มี pH = 7.4 เท่านั้น

ถ้า pH ของสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่น pH = 6 ค่า Ka ของ Etidocaine (หรือยาชาใดๆ) จะไม่ได้อยู่ที่ค่าเดิม แบบใน table 1-4 นะครับ

แต่เมื่อ RN diffuse ผ่าน nerve sheath ได้แล้ว เมื่อไปเจอสภาวะ pH = 7.4 ก็คิดการแตกตัวตามหลักเดิมได้

ยกตัวอย่างในรูป เมื่อ [RN] ผ่านเข้าไป 10 โมเลกุลแล้ว ก็จะเข้าสู่สมดุลใหม่ (ratio 0.3162)

ได้ [RN] + [RNH+] = 25% + 75% = 2.5 โมเลกุล + 7.5 โมเลกุล = 10 โมเลกุล ดังแสดงในรูป

“สิ้นสุดการพิสูจน์”

สมการนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องจำด้วยการท่องจำ เราสามารถทำความเข้าใจ และนำไปใช้ในทางคลินิกได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

ให้ลองดูสมการเคมีเดิม

สมการจะตั้งต้นด้วย RNH+ เพราะยาชา ในที่นี้ขอยกตัวอย่างจริงไปเลยละกัน คือ Articaine

Articaine จะอยู่ในรูปเกลือ โดยทำให้อยู่ในรูปสารละลาย Articaine HCl

(รสขมของยาชาที่ Pt รู้สึกเวลายาชา leak คือ รสชาติของ HCl salt ไม่ใช่จาก Articaine)

เมื่อยาชาเข้าไปอยู่ใน Extracellular fluid ยาชา Articaine HCl จะเกิดการละลายเปลี่ยนจาก salt กลายเป็น Articaine ที่ติดประจุ +

Articaine ใน Extracellular fluid คือ Articaine+ —> RNH+

จากนั้น Articaine+ <–> Articaine (ที่สูญเสีย Proton) + (H+)

ตามสมการ RNH+ <–> RN + (H+)

(ปริมาณยาชา = % x ปริมาตร x 10 = 4 x 1.7 x 10 = 68 mg/cartridge

ปริมาณ epinephrine = ปริมาตร x 10 = 1.7 x 10 = 17 μg/cartridge , 1:100,000 (ถ้า 1:200,000–> เอา 2 หาร = 8.5 μg, ถ้า 1:50,000 –> เอา 2 คูณ = 34 μg)

max dose = 7.0 mg/kg หรือ 440 mg

Epinephrine = 200 μg/visit, ใน Pt CVS = 40 μg/visit)

ทีนี้ถ้าเรามองย้อนกลับมาที่ ตารางนี้ซ้ำอีกครั้ง จะเห็นว่า ค่า pKa ของยาชาใน column แรก จะถูกเรียงจาก น้อยสุด —> มากสุด

คือ pKa ของ Benzocaine < Mepi, Lido, Prilo < Articaine < Etido < Ropi, Bupi < Tetra, Cocaine < Chloro < Propoxy < Procaine และ Procainamide มีค่า pKa มากที่สุด

จากสมการ Hand-Hassel

ถ้าเราเขียนใหม่ ให้ pH = A, pKa = B และ Log ([RN] / [RNH+]) = C

จะได้ A = B + C

เมื่อพิจารณา C

จากสมการ

จะพบว่า ค่า [RN] จะเท่ากับ 0 เมื่อ [RNH+] ไม่แตกตัวให้เลย —> [RN] / [RNH+] = 0

และ [RN] จะมากที่สุด คือ เท่ากับ [RNH+] เมื่อ [RNH+] แตกตัวได้ทั้งหมด 100% –> [RN] / [RNH+] = 1

เนื่องจาก C = Log ([RN] / [RNH+]) จึงเข้ากันได้กับสมการ Y = Log x

( Y=C , x = [RN] / [RNH+] )

ค่า [RN] / [RNH+] ที่วิ่งระหว่าง 0 –> 1 จะทำให้ค่า C เป็น ค่าติดลบ เสมอ

ดังนั้นถ้าให้ค่า A, B และ C เป็นจำนวนจริงบวกทุกค่า

จะได้สมการ A = B + C เป็น A = B – C

ถ้า A = B – C จะเกิดผล 2 ข้อ คือ A จะแปรผันตาม B

คือ ถ้า A มาก –> B จะมีค่ามากด้วย หรือ ถ้า A มีค่าน้อย –> B ก็จะน้อยด้วย

และ A < B เสมอ

กลับมาที่ สมการ

pH จะแปรผันตาม pKa และ pH จะมีค่าน้อยกว่า pKa เสมอ

กลับมาที่ตาราง

เราจึงพูดอีกแบบได้ว่า Articaine มีความเป็นกรดน้อยกว่า Mepivacaine นั่นเองครับ

หรือจะบอกว่า Bupivacaine เป็นเบสมากกว่า Articaine ก็ได้

มองยาชาในตาราง ในมุมของ Acid-Base ของ B

จากสมการการแตกตัวของยาชา

ถ้าเขียนเต็มรูปแบบ ตามทฤษฎีกรด-เบส ขอ Brønsted-Lowry theory จะได้แบบนี้

คือ สนใจการให้และรับ Proton (H+)

RN คือ ยาชาที่แตกตัวจาก RNH+ หรือ พูดอีกอย่างว่า RN คือ คู่เบสของ RNH+ และเนื่องจากเป็น Buffer จึงมีสมดุลย้อนกลับ ว่า RNH+ คือ คู่กรด (ที่เกิดจากการรับ Proton) ของ RN นั่นเอง

เพราะค่า pH แปรผันตาม pKa ถ้าไปอ่านเจอแบบนี้ ก็ไม่ต้องงงครับ

แต่ให้เข้าใจว่า ถึงมันจะแปรผันตามกัน แต่เป็นคนละค่ากัน ใช้อธิบายคนละเรื่องกัน คือ ตัวนึงอธิบายการแตกตัว ส่วนอีกตัว อธิบายการให้ H+ จากการแตกตัวนั้่น

จาก สมดุลของสมการ จะพบว่า ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นกรดมากขึ้น สมดุลของสมการจะเป็นแบบนี้

ยาชาที่มีความเป็นกรดมาก จึงใช้ในสถานการณ์นี้ไม่ดี (ถ้าไม่คิดถึง condition อื่นๆ ของ Pt)

ยาชาที่เหมาะ จึงเป็นยาชาที่มีความเป็นเบสสูง (pKa มาก ยิ่งดี)

คือ ถ้าเจอคนไข้มี Vestibular abscess ถ้ามี Mepi กับ Articaine ในคลินิก ให้เลือก Articaine แต่ถ้ามี Bupivacaine ให้เลือกใช้ Bupi แทน เป็นต้น

จบการอธิบายการใช้ Henderson-Hasselbalch equation ไว้เพียงเท่านี้

Ref:

1. https://books.google.co.th/books/about/Handbook_of_Local_Anesthesia_6e.html?id=2Qxb9WGDuiUC&source=kp_book_description&redir_esc=y

2. https://todayinsci.com/H/Henderson_Lawrence/HendersonLawrence-Quotations.htm

3. https://en.m.wikipedia.org/wiki/S._P._L._S%C3%B8rensen

4. https://www.semanticscholar.org/paper/History-of-blood-gas-analysis.-I.-The-development-Severinghaus-Astrup/0e756f082bd4f2e986e096ceee0ba5d463a8f045/figure/4

5. https://www.mathway.com/Algebra