Tag: iOS

การ Lock app ใน iPhone

ปกติเราจะพบว่า iOS มีการปรับแต่งของ Settings ได้ไม่มากเท่า Android แต่การมาถึงของ Shortcuts ใน iOS 12 และได้รับการพัฒนาจนเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการอย่างสมบูรณ์ใน iOS 16 ทำให้ iPhone สามารถปรับแต่งได้เพิ่มขึ้นอีก (นอกเหนือจาก Settings)

ใน app ทั่วไป ถ้า dev ไม่ได้พัฒนา privacy ขึ้นเป็นการเฉพาะ เราจะไม่สามารถ lock app ได้เลย แต่ถ้า dev ทำ privacy ขึ้นเฉพาะ จะสามารถตั้ง password หรือ ใช้ Biometric เช่น Face id, Touch id ก่อนเปิดใช้ app ได้ เช่น app Line

การตั้งค่า Privacy เพิ่มขึ้นภายใน Line แสดงใน settings menu ภายใน app Line ดังรูป

ซึ่งนอกเหนือจาก การรอให้ Dev เพิ่ม Privacy ของแต่ละ app (แบบ Line) แล้ว

เราสามารถใช้ Shortcuts ในการตั้งค่า privacy เพิ่มเติมได้ในทุก app ครับ

วิธีการดังนี้

1. เปิด app Shortcuts

เมื่อเปิด app จะเจอ Automation

กดเข้าหน้า Automation ให้เลือก Create Personal Automation

เลือก App ที่เราต้องการจะ Lock ก่อนเปิด app นั้น

ตรงลูกศรด้านล่าง จะติ๊ก / ที่ is Opened จากนั้นให้เลือก Choose

เจอหน้าเลือก App ตัวอย่างนี้ ผมเลือก app Messages ครับ (คือ ทุกครั้งที่เปิดอ่าน Messages จะมีการเรียก Password, Touch id, Face id ก่อน จึงจะเปิด app ได้)

พิมพ์หา app messages

เจอ app Messages แล้ว ให้กดเลือก ติ๊ก /

จะเข้ามาที่หน้านี้ App แสดงชื่อ app ที่เราต้องการ Lock และลูกศรด้านล่าง เลือก is Opened

จากนั้น กด Next ที่มุนขวาบน (ของผู้อ่าน)

จะเข้ามาที่หน้านี้ เพื่อเลือก Actions ว่า เราจะให้ app ทำ Action อะไร

ให้พิมพ์เลือกคำว่า ” lock screen “

พิมพ์คำว่า lock screen จะเกิด Scripting Lock Screen ให้กดเลือก Lock Screen

จะเข้ามาหน้านี้ ให้กด Next

เมื่อเข้ามาที่หน้านี้ ให้ Off ตรง Ask Before Running (คือ เลื่อนสีเขียวให้เป็นสีเทา)

เมื่อเราเลื่อน “ปิด” Ask Before Running จะเจอ pop up ขึ้นมาเพื่อ confirm ให้เลือก Don’t Ask

ถึงขั้นตอนนี้ คือ เสร็จแล้วครับ (ผมเขียนแสดงลูกศรสีเขียว กรณีถ้าเราต้องการ “ลบ” คำสั่งนี้นะครับ ให้ปัดเลื่อนมาทางซ้าย)

แสดงหน้าตาโดยรวมของ Automation การ Lock app Messages

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกครั้งที่จะเปิด app Messages ต้องมีการเรียกหา Password, Touch id, Face id ก่อน

เวลาใช้งานจริง จะเป็นแบบนี้ครับ

ref: https://www.macrumors.com/how-to/automatically-lock-iphone-app-opened/?fbclid=IwAR1dV4lK4uqQDvekBUGiDG5CAJnJKAfmNmR4uCton_5OdvHtJK0RrZRLwkw

ความแตกต่างของ การปิด-เปิดเครื่อง vs การกด 3 ปุ่มเพื่อ reset

มาดูการ “ปิดแล้วเปิดเครื่อง”

1. กดเพื่อ “ปิด” ของ iPhone รุ่นต่างๆ

2. หน้าจอจะปรากฏหน้านี้

ถ้าเราจะปิดเครื่องจากขั้นตอนที่ 1 ได้ เครื่องต้องยังมีการตอบสนองตามปกติ (มิฉะนั้นจะไม่สามารถ touch หน้าจอเพื่อ slide ได้) จะทำเมื่อ user พบความผิดปกติบางอย่าง เช่น app ที่ลงในเครื่องทำงานผิดปกติ หรือ ระบบของ Apple เอง ทำงานผิดปกติ เช่น staus bar ด้านบนหมุนกลับด้าน จากด้านบน มาเป็นด้านข้าง , กล้องขึ้นหน้าจอดำ ฯลฯ นั่นคือ มีการทำงานของ code ของ app หรือ code ของ iOS ผิดพลาด

เมื่อเข้าหน้าจอในข้อ 2 ได้ นั่นคือ iOS ทำการ Terminate code ที่ผิดพลาดเหล่านั้นได้สำเร็จ (คือ การปิดการทำงานของ app ที่ค้างในหน้าจอนั้น รวมทั้ง app ที่ถูก freeze อยู่เป็น background ทุกตัว)

โดยพื้นฐานคำสั่งที่มาจาก app ต่างๆ จะส่งเข้า CPU จะถูกเก็บไว้ใน RAM ของเครื่อง (RAM เป็นส่วนที่ต้องมีไฟเลี้ยงไว้เสมอ) ส่วนคำสั่งของ iOS code ต่างๆ จะเก็บไว้ใน ROM และใช้ RAM เพื่อ run code (ความจุของ ROM ไม่ต้องจำเป็นต้องมีกระแสไฟเลี้ยง)

3. เมื่อเรา Slide เพื่อปิดเครื่อง จะเป็นการ “ตัด” กระแสไฟที่เข้าสู่ mainboad (ในทางทฤษฏี แต่ทางปฏิบัติ แม้เราปิดเครื่องแล้ว ก็ยังมีกระแสไฟจำนวนหนื่ง คอยเลี้ยง chip บางตัวอยู่ เพื่อทำให้ Find my ยัง work ได้ แม้เครื่องถูกปิดไปแล้ว)

code ที่ยังค้างทั้งจาก app และ iOS จะเก็บไว้ใน RAM ส่วนหนึ่งเมื่อกระแสไฟถูกตัด คำสั่งจาก code หรือ app เหล่านี้ จึงหายไป เป็นการทำให้เครื่องอยู่ในสภาวะ fresh ไม่มีข้อผิดพลาดตกค้าง เมื่อเปิดเครื่องอีกครั้ง

สรุป คือ การ “ปิดเครื่อง” คือ การ Reset ด้วยการใช้ Software ครับ เป็นการให้เวลา iOS ปิดทุกคำสั่งที่ค้างอยู่ ปิด app แบบเป็นขั้นตอน แล้วจึงปิดคำสั่งสุดท้ายของระบบปฎิบัติการเอง

แล้วการ Force reset หรือ Force restart คืออะไร?

มาดู การ Force reset แน่นอน เราจะทำเมื่อ หน้าจอเครื่องไม่มีการตอบสนองใดๆ

  1. เมื่อเรากด Force reset การทำงานของเครื่อง คือ การ “ตัด” กระแสไฟจาก battery ที่เข้า mainboard โดยทันที จึงไม่มีการปิด app ที่ยัง run ค้าง หรือ terminate code ของ iOS อย่างเป็นขั้นตอน แต่เหมือนปิด app หรือ code ที่กำลังทำงานอยู่ระหว่างทาง โดย iOS อาจจะไม่สามารถตรวจและบันทึก ความผิดพลาดที่เจออยู่ได้

Force reset ออกแบบมาเพื่อ เป็นการทำ rest ในระดับ Hardware คือ เราไม่ต้องแตะหน้าจอเลย แต่ใช้การกด button ซึ่งเป็นการสัมผัสเฉพาะ Hardware เท่านั้น (Hardware reset –> Hard reset)

เป็นการ “ตัด” กระแสที่เข้า mainboard แล้วจึง “ปล่อย” กระแสไฟ เข้าไปใหม่ (Force reboot) จากนั้น iPhone จะถูกเปิดเครื่องใหม่ ในสภาวะที่ terminate code และ app ที่เคยเปิดใช้ เป็นสภาวะเครื่องที่ทำงานปกติ เหมือนเรา “ปิดและเปิดเครื่อง” ทุกประการ

ความแตกต่างเพียงสิ่งเดียว คือ วิธีที่ตัด Power ที่เข้าสู่เครื่องเท่านั้น

การ “ปิดแล้วเปิดเครื่อง” คือ การตัด Power แบบเป็นระบบ iOS จะมีเวลาในการจัดการ code และ app ที่ค้าง ก่อนตัดไฟ

แต่การกด 3 ปุ่ม เพื่อ Force reset คือ การตัด Power แบบฉับพลัน iOS จะไม่มีการจัดการความผิดพลาดเบื้องหลังทั้งสิ้น

ดังนั้น ตราบใดที่เจอข้อผิดพลาด และหน้าจอยังตอบสนองได้ปกติ จึงควร Reset เครื่อง ด้วยการ “ปิดแล้วเปิดเครื่อง” (Software reset หรือ Soft reset)

แต่ถ้าหน้าจอ ไม่ตอบสนองต่อ touch screen (กดปิดเครื่อง แล้วไม่แสดงหน้า “slide to power off”) เราจึงจะใช้การกดปุ่ม เพื่อ Force reset ครับ

มีข้อสังเกตว่า ในขบวนการ Clear RAM หรือ เมื่อเข้าถึงหน้า “slide to power off” ได้ ถึงเราจะกด Cancel ก่อนเข้าหน้าจอ Lock จะต้องเจอ หน้ากรอก Passwode ก่อนเข้าหน้า Home เสมอ เพราะ iOS มีการ terminate code และ จัดการ app ที่ run อยู่ ทุกครั้งที่เข้าถึงหน้าก่อนจะ “ปิด” เครื่องครับ

Ref:

  1. https://www.wired.co.uk/article/nsa-bug-iphone
  2. https://support.apple.com/guide/iphone/turn-iphone-on-or-off-iph841379c3d/ios
  3. https://www.laptopmag.com/news/how-to-turn-off-an-iphone
  4. https://support.apple.com/en-gb/HT201559

สาเหตุและปัญหาต่อความเข้าใจของผู้ใช้ในการสลับเลนส์กล้องหลัง iPhone รุ่นใหม่ๆ

แสดง Camera menu ของ iOS 10
ด้วยความบังเอิญ จากการนำ SE 1 มาใช้ระหว่างรอ 14PM ที่ส่งคืนกลับไปเปลี่ยนสีใหม่ ทำให้เจอสาเหตุของปัญหานี้ครับ
SE 1 เครื่องนี้ได้มาจาก PowerBuy ที่ Central ปิ่นเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2559 ครับ ช่วงเดือน มิ.ย. (ผมดูจาก date ของรูปภาพรูปแรกที่ถ่ายเก็บไว้ในเครื่อง) เครื่องมีการใช้งานอย่างจริงจัง หลังจากนั้น Inbox แล้วคอยชาร์จแบตบ้าง เป็นระยะ
ปีนึง ถ้าคิดถึงจะนำออกมาใช้ เพื่อ update applications อย่างต่อเนื่อง พอดีช่วงนี้เป็นโอกาสดีมากที่จะนำออกมาใช้อย่างจริงจัง ในระหว่างรอเปลี่ยนเครื่อง 14PM
Uncover
Charger 5W เป็นตัวใหม่ที่ผมซื้อมาทีหลัง เพื่อแทนตัวเก่าที่หายไปเรียบร้อยแล้วครับ แต่หูฟังและ cable USB to Lightning ยังเป็นของเดิมที่มาพร้อมเครื่อง
สภาพเครื่องโดยรวม
SE 1 Silver นี้ Silver แบบจริงจังครับ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
White ทั้งเครื่อง
ปุ่ม Volume up/down แบบทรงกลม
ข้อดีคือ ทำให้คลำง่ายครับ สัมผัสแล้วแยกได้ทันทีปุ่มไหนเป็น up/down
Power on/off (Shut down button)
Port Lightning และ รูหูฟัง 3.5″
Real physical Home button
สัญลักษณ์ Signal scale ที่ไม่คุ้นตา ไม่ต้องแปลกใจครับ
เพราะเครื่องนี้ยังอยู่ใน iOS 10 นั่นเอง
เพราะมันเป็น iOS 10 นี่แหละ ทำให้ผมเจอสาเหตุของปัญหาว่า ทำไม user จึงสับสนและไม่เข้าใจการถ่ายรูปด้วย iPhone 13Pro series, 14Pro series กันเป็นจำนวนมาก คือ พบว่า กล้องกระตุกบ้าง ไม่ focus บ้าง แล้วแต่จะเจอกัน รูป Lotus หน้าบ้านจาก SE 1
ด้วยความที่อยู่กับ 13Pro, 14Pro รวมกันแล้วเป็นปี ทำให้ผมถึงกับอึ้ง เมื่อเปิด Camera app ของ SE 1 ที่อยู่ใน iOS 10 ครับ
ใน iOS 10 จะเห็นว่า Apple วางการ Settings ของ Camera app ทั้งหมด อยู่ในหน้าจอถ่ายรูปเลย จาก menu bar บนสุด user สามารถ ปิด/เปิด Flash, HDR, Live photo, Timer, Filter จากหน้าจอ app ได้โดยตรง
รูป Preview จากหน้าจอก่อนกด Shutter
รูปทึ่ถ่ายได้
ใน Setting ของ HDR ที่มีให้เลือก
รูปที่ได้
ลองใช้การ Zoom
รูปที่ได้

ทีนี้ลองเข้าไปที่หน้า Settings หลักของเครื่องครับ
เราจะไม่พบ Settings menu ของ Camera ที่นี่เลย
แสดง Settings menu ทั้งหมดของ iOS 10
ที่ SE 1 ยังอยู่ใน iOS 10 เพราะผมยังต้องการเก็บ apps เหล่านี้ไว้ครับ เพราะทันทีที่ update iOS 11 เป็นต้นไป apps พวกนี้จะกลายเป็น app ที่เปิดไม่ได้ทันที ส่วนใหญ่เป็น Games และ Medical database app เก่าๆ ซึ่งผู้พัฒนาเลิกทำไปแล้ว (icon เครื่องบินแถวบนสุด นับที่ 2 จากซ้าย คือ เกม Ace combat ของ Namco ครับ)
ทั้งหมดนี้ที่เกิดจากการจับ SE 1 ใน iOS รุ่นเก่า ที่เน้นความเรียบง่ายในการใช้งาน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบทันทีว่า การย้าย Setting menu ของ Camera app เข้ามาใน Settings ของเครื่อง ด้วย menu ที่หลากหลาย และซับซ้อน ทำให้ user ที่ไม่คุ้นชิน เกิดความไม่เข้าใจความซับซ้อนในการปรับแต่ง จึงทำให้รู้สึก fail เวลาใช้งานกล้องหลังของ iPhone 14Pro series นั่นเองครับ
ผมคงต้องอยู่กับ SE 1 อีกหลาย wk เลย

iPhone SE 2022: Detoxifying the iPhone notch family.

รีวิว iPhone SE 2022

ผมอยู่กับ iPhone ที่มี notch ตั้งแต่ iPhone 11Pro ครับ แล้วมาเป็น 13Pro (ข้าม X, Xs,12) จนมาถึงล่าสุด 14Pro ในครั้งแรกคิดว่า เมื่อเปลี่ยนมาเป็น Dynamic island แล้วสถานการณ์น่าจะ ok ขึ้น แต่เมื่อใช้งานไปได้ 1wk จึงพบว่า มันไม่ใช่เลย

Dynamic island ค่อนข้างมีปัญหาการบดบัง Screen มาก โดยเฉพาะเมื่อใช้งานในแนว landscape ยิ่งไปกว่านั้น Truedepth system ของ i14Pro ไม่ได้ดีขึ้นไปจาก i13Pro เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ Face ID with mask โดยเฉพาะในยามเร่งด่วน

การใช้งานทั่วไป ไม่รู้สึกแตกต่างจาก 13Pro ที่ถืออยู่ 1 ปี เมื่อไม่มีอะไรดีขึ้น (อย่างที่คาดหวังไว้) จึงทำให้ผมกลับไปคือถึง Physical Home button ที่คุ้นเคย เครื่องที่ผมยังเก็บไว้คือ iPhone 6s+ เป็น device ที่เชื่อใจได้สูงมาก แต่ด้วย CPU A9 แม้ update เป็น iOS 15.7 ได้ แต่ความเร็วในการใช้งานก็ช้ามากครับ A9 ยังเป็น generation ที่ไม่มี Neural engine (เริ่มที่ A11)
ผมจึง Clearance iPhone notch type family ที่มีอยู่ทั้งหมด แล้วกลับไปที่ Apple store เพื่อหวนกลับไปสู่ iPhone ที่อาจจะเป็น gen สุดท้ายที่มี Physical button อีกครั้ง
วันนั้นช่วงหลังเลิกงาน ท่ามกลางกระแสเชี่ยวกรากของ i14Promax และ 14Pro ที่ระอุท่วมท้น Apple Store CTW ก็มีเรื่องให้ชวนตะลึงของเหล่าพนักงานใน Store แห่งนี้ เมื่อคุณลุงคนนึงเข้ามาขอซื้อ iPhone SE ด้วยราคาที่ up ขึ้นจากเดิม พร้อมคำถามคาใจว่า ทำไมคุณลุงไม่ซื้อใน Lazada คะ? ( ใน Lazada ยังขายราคาเดิมก่อน Apple จะปรับ)
เพื่อไม่ให้พนักงานใน Store กรูเข้ามามุงดู พร้อมคำถามและ option ที่ดีกว่ามากมายในการเสนอขาย i14Pro series ก่อนสถานการณ์จะบานปลายไปกว่านั้น ผมจึงไม่ทันได้ check สภาพเครื่อง ทำได้คือ รีบนำ SE ที่ยัง inbox ใส่เป้คู่ใจ แล้วจึงรีบซอยเท้าออกจาก Apple Store ทันที
ทันทีที่กลับถึง Condo ผมรีบอาบน้ำชำระล้างร่างกาย เพราะอยากให้สายน้ำจากฟักบัวช่วยชะล้างภาพของ iPhone notch type ให้ลบไปจากหัวใจ เพื่อจะได้ move on ออกจาก “เกาะ”
กันได้ซักที
อันดับแรกสุดคือ ต้อง check สภาพ body เครื่องทั้งหมดก่อน
พลิกดูสภาพกล่องโดยรอบ
Package iPhone ที่ขายปัจจุบันเป็นแบบนี้ เหมือนกันหมด
อนาคตเราน่าจะเจอ Assembled in India (เห็นคำว่า Assembly แล้วนึกถึง Avengers: End Game ทุกที)
สังเกตวันที่ผลิด นี่แสดงว่า SE ขายได้น้อยมากในไทยนะครับ เดาได้เลยว่า เครื่องยังเป็น iOS 15 มากับกล่องแน่ๆ
ตรงนี้อยากให้ดูเลข Part number เพราะทันทีที่ i14 series เริ่มขายในไทย ก็มี Drama ใน section ที่ 2 ของ Part number ในส่วนของ “รหัสประเทศ” มากๆ
เอาถุง Apple ไปเก็บเข้าลัง
ที่ไม่ทิ้งถุงไม่ใช่อะไร แต่เพราะตอนรับ Products Apple มาก็ทิ้งไปเยอะ ในช่วงแรกๆ ครับ แต่มาวันนึงพลิกก้นถุงขึ้นมาดู มาอ่านเจอตรงนี้เข้า หลังจากนั้นไม่กล้าทิ้งถุง Apple อีกเลย แต่พยายามเอาไปใช้ต่อทีละใบ จนถุงขาดค่อยทิ้งครับ ผมจะเอาใส่กล่องข้าวไปกินที่ทำงาน เพราะส่วนใหญ่ได้ถุงขนาดเล็กสุด มันใส่กล่อง Double Lock ที่ผมใส่ข้าวกลางวันไปกินที่ทำงานได้พอดี (หุงข้าวกินเองทุกเช้าครับ)
เริ่ม Unbox
ผมไม่ฉีกกระดาษ seal กล่องออก เพื่อไม่ให้เกิดขยะใหม่ 2 ชิ้น ให้ติดกับกล่องแบบนี้ไปอีกนาน บางคนอาจคิดว่า ไม่มีประโยชน์ เพราะยังไงกล่องทั้งกล่องก็ต้องเป็นขยะอยู่ดี แต่ผมคิดว่า ok ถูกต้อง ยังไงก็เป็นขยะทั้งกล่อง วิธีนี้ทำเพื่อ เลื่อนเวลาที่มันจะเป็นขยะออกไปเท่านั้นครับ การยืดเวลา ก็เป็นการลดขยะอีกวิธีนึง เหมือนเราซ่อมของใช้ แทนที่จะทิ้งแล้วซื้อใหม่
Starlight ใสสว่าง
แม้กล่องภายนอกจะเป็น Package แบบใหม่ แต่ SE ยังมี Plastic seal คลุมปิดหน้าจอและ body หลัง แทนที่จะใช้กระดาษครับ
มี label บอก Physical Home button
label ด้านข้าง Ring/Silent switch และ Volume up/down button (Oneplus user หัวร้อนกันมากที่ Flagship ของ Oneplus เริ่มตัด Alert slider ด้านข้างนี้ออกไป)
ทันทีที่ลอก Plastic seal ผมจะวางกระจกกันรอยแทนที่ทันที วิธีนี้ไม่ต้องเช็ดฝุ่นระหว่างติดครับ แต่ต้องเล็งให้ดีและใช้เวลาน้อยมาก มีเวลา ~ 5 s ก่อนฝุ่นในห้อง particle แรกจะปลิวเข้ามาตกบน Screen (ก่อนติด ผมเร่งเครื่องฟอกอากาศเป็นแรงสุด เป็นเวลา 10 นาทีก่อนเริ่ม Unbox)
ที่ต้องรองผ้า เพราะต้องการให้เครื่อง stable ระหว่างติดกระจก เพราะเครื่องวางราบไม่นิ่ง จากติดกล้องหลังที่นูนออกมา
หลังวางตำแหน่งกระจก Seat แล้ว
ติดเอง ติดได้ดีกว่าให้ร้านติดให้ 10 เท่าครับ เพราะเราคุมสภาพฝุ่นและแสงสว่างได้เองทั้งหมด ติดเบี้ยวไปนิดเดียว Proximity sensor เพี้ยนไปเลยนะ คือ เวลา call หน้าจอจะไม่ดับเอง เวลาเอาเครื่องแนบหูครับ เพราะกระจกไปบัง sensor ตัวนี้เข้า
ตำแหน่งกระจกกันรอย กับ ปุ่ม Home
ผมจะไม่เสียเวลาเปิดเครื่อง เพื่อ activate ครับ แต่ใช้ iTunes activate เครื่องไปเลย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่าง ที่อาจเกิดขึ้นเวลา Activate ด้วยการเปิดเครื่องโดยตรง
ปกติผมจะใช้ Backup เดิมล่าสุดทุกครั้งครับ แต่เครื่องนี้ต้อง Set up as new iPhone เลย เพราะ…
SE เครื่องนี้เป็น iOS 15.4.1 ครับ
ทำได้คือ ลงรูปและเพลง เท่านั้น ส่วน apps ต้องลงใหม่ทั้งหมด
หลัง Eject จาก iTunes
พร้อม move on
Apple leather case ของ SE ครับ หายากมาก เพราะ Apple เลิกขายแล้ว (เหลือแค่ Silicone case only)
ปกติเครื่องรุ่นใหม่ แกะกล่องมา เครื่องจะมี Battery 75% ครับ แต่ SE ค้างใน Store นานมาก จน Batt เหลือ 50% กว่าจะ Set up เสร็จ เหลือ 40%

Finish