คิดว่า ใช้แบบทับศัพท์จะ work กว่าครับ
Teledentistry
แต่ถ้าดูตามแนวทางการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตนะ คงเจอคำนี้แน่นอน (โทรทันตกรรม)
ลองเปิดพจนานุกรมเล่มล่าสุด
เปิดหมวดที่แปลคำที่ใช้ prefix ว่า “Tele-“(ภาษาไทยจะเรียก prefix ว่า “อุปสรรค”)
ลอง check ใน net ดู ปรากฏว่า ฝั่งแพทย์โดนไปแล้วครับ
Telemedicine = โทรเวชกรรม
เพราะฉะนั้น Teledentistry = โทรทันตกรรม แน่นอน
ถ้าลองค้น paper Teledentistry มันจะมีเยอะมากครับ แต่ละ paper จะชี้ตรงกันว่า Teledentistry ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี 1997 (พ.ศ. 2540 ปีนั้นรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิทใกล้เสร็จแล้วครับ)
ลองค้น paper แรกที่ใช้คำนี้ของ Cook ปี 1997 พบว่า ไม่มีครับ ที่ไม่มีไม่ใช่ค้นไม่เจอนะ แต่เพราะมันไม่ใช่ paper ครับ เพราะ Cook ได้ใช้คำๆนี้ในงาน Conference (เป็น vdo conference ปี พ.ศ.2540 เลยนะ เท่มากๆ)
เท่าที่ลอง scan ดูเนื้อหา papers เรื่องนี้จะคล้ายๆ กัน ผมขอสุ่มอ่านมาซัก paper นึงละกันนะครับ
Teledentistry เป็นส่วนผสมของวิชาทันตแพทย์ กับ internet High speed boardband โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ณ ตำแหน่งที่อยู่ห่างไกลกัน ด้วยจุดประสงค์ต่างๆ เช่น
– คุยกับคนไข้เพื่อสอบถามปัญหาเบื้องต้น หรือ ประเมินอาการเพื่อการคัดกรองตาม CC หรือ ติดตามอาการ
– คยกับหมอด้วยกัน เพื่อวางแผนการรักษา หรือ แก้ไขปัญหาต่าง specialist กัน
– อาจารย์คุยกับนักเรียนทันตแพทย์ คือ การสอน online แบบในช่วง COVID-19 ที่เราเจอกันนั่นเอง
พัฒนาการของ Teledentistry
การใช้งานจะมี 2 รูปแบบ
1.Teledentistry เพื่อการ consult (Teleconsultation)
1.1 แบบ Real-Time (Live) คือ มี interactive ได้ระหว่าง หมอ-คนไข้ หรือ หมอ GP-หมอ Specialist หรือ อาจารย์หมอ-นักเรียน (นักเรียนอาจเป็นหมอที่จบแล้วใน Online training course หรือนักเรียนทันตแพทย์ในคณะ)
1.2 แบบ Resource (Store-and-forward method) คือ ไม่ต้อง live จริง แต่หมอใช้การส่งข้อมูลที่จะ consult เข้าไปเก็บไว้ใน database server หรือ cloud แล้ว Specialist จะเรียกดูข้อมูลในเวลาต่อมาแล้วส่งคำแนะนำกลับมาภายหลัง
2. Remote monitoring method คือ การเจอผู้ป่วยจริงๆ ผ่านการ live โดยอาจเจอผ่านคลินิกหมอที่ผู้ป่วยไปรักษา (และต้องการ consult Specialist) หรือ เจอผ่านบ้านผู้ป่วย เช่น
-การตรวจคัดกรองข้อมูลบางอย่างก่อนเดินทางมารักษาจริง (การตรวจคัดกรอง COVID-19 จากที่บ้านก่อนวันนัดรักษา ก็อยู่ใน Remote monitoring method)
-การคัดกรองอาการ CC เบื้องต้น เช่น การปวดฟันคุด ทำให้สามารถนัดแบบ One day surgery ใช้เวลาเพียง 1 visit และไม่ต้องรอเพื่อการส่งต่อระหว่างภาควิชานานแบบปกติ (1st visit ส่งจาก Oral med ไป surgery เพื่อนัด, 2nd visit มา surgery อีกที)
บางครั้งถ้าการ consult เกิดผ่านเครื่องมือประสิทธิภาพต่ำ (smart phone) หรือ ความเร็ว internet ไม่สูงมาก อาจจำเป็นต้องใช้ในงานที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมาก เช่น การติดตามอาการหลังการรักษา (ระหว่างรอนัดเจอจริง) บาง paper จะเรียก Near-Real-Time consultation
ประโยชน์ที่ชัดเจนมากของ Teledentistry (โดยรวมทุกแบบ) คือ การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม ระหว่างพื้นที่ห่างไกลกับพื้นที่ในเขตเมือง
รองลงมา คือ การลดความแออัดของการเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล หรือ คณะทันตแพทย์ เพราะสามารถคัดกรองอาการเบื้องต้นได้ หรือ แม้กระทั่งจัดคิวเข้ารับการรักษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การให้การ consult ระหว่างทันตแพทย์และทันตแพทย์เฉพาะทาง ช่วยลดภาระงานของแต่ละฝ่ายได้มาก ยกตัวอย่างเช่น
1.ต้องการทำ denture แต่คนไข้มี Torus ขนาดกลางๆ ต้องตัดสินใจระหว่าง remove หรือปล่อยไว้? การใช้ภาพถ่ายจากกล้องธรรมดาในงานที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมาก (ใช้กล้อง Smart phone ได้) หรือ แม้กระทั่ง intra-oral camera ในงานที่ต้องการรายละเอียดสูง เช่น งาน Perio ที่ต้องการแยกความแตกต่างของ soft tissue ก็สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอได้
2.การ consult ระหว่างสาขา หรือ แม้ในสาขาเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ทาง Orthodontic อันนี้ค่อนข้างชัดเจนว่า ช่วยการตัดสินใจแผนการรักษาของผู้ป่วยได้ทันที เพราะมีรูป profile, ฟิลม์, tracing, รูป intraoral แม้กระทั่งดูสภาพจิตใจ-ความคาดหวังของคนไข้
ต้องบอกว่างาน Ortho กับ Teledentistry ใน US นี่ไปไกลมากครับ แทบจะให้คนไข้พิมพ์ปากด้วยตัวเองที่บ้านได้เลย
อันนี้ให้ดู Application ที่เขียนมาเพื่อใช้ Teledentistry
การ consult ระหว่างสาขา บางทีอาจารย์ก็มีภาระกิจมาก ถึงจะอยู่ในคณะเดียวกัน แต่ก็หาเวลาเจอพร้อมๆ กันยากมาก ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ implant จะมี attached gingiva เพียงพอหรือไม่? การใช้ Teledentistry ระหว่าง prosth-perio-maxillo มีประโยชน์มาก เพื่อสามารถวาง Tx ได้ในครั้งเดียว
3.การให้การวินิจฉัยทาง Oral med (Teleoral medicine consultation)
พบว่า การวินิจฉัยแบบ Real-Time จะ accurate กว่าแบบ Store-and-forward method
4. เมื่อต้องการขอ 2nd opinion โดยไม่ต้องเสียเวลาในการนัดหมายและการเดินทาง
5. การสอน อันนี้ค่อนข้าง clear ดูจากการเติบโตของ Online training courses ต่างๆ (แต่จะเป็นภาระอาจารย์ต้องเตรียมการสอนมากๆ สำหรับการสอนในเรื่อง basic สำหรับคณะทันตแพทย์ ในความเห็นผม สอนเรื่องพื้นฐานยากกว่าสอนเรื่อง advance ครับ)
6.การจัด conference และ seminar ต่างๆ อันนี้ค่อนข้างตรงไปตรงมา
ยกตัวอย่างงานประชุม TDA ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่ Live อย่างเป็นทางการ (โดยไม่ต้องแอบ live กันแบบไม่ให้อาจารย์รู้ครับ)
กล่าวถึงประโยชน์ของมันแล้ว ทีนี้มาดูปัญหาของ Teledentistry
1. ปัญหานี่ค่อนข้าง serious คือ เป็นปัญหาทางจริยธรรม เพราะหากเราไปดูที่สิทธิของผู้ป่วยข้อที่ 6 ครับ
เรื่อง Privacy เป็นเรื่องสำคัญมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคลินิกหรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก ไม่มีเงินพอจะซื้อ license Application ราคาแพงในการทำ Teledentistry แต่จำเป็นต้องใช้ App ทั่วไปอย่างเช่น
Zoom (non-paid version) หรือ Fb live แล้วมีการรั่วไหลของข้อมูลในขั้นของผู้ให้บริการ
หรือแม้กระทั่งการหลุดของข้อมูลจากบุคลากรในที่ทำงาน
2.ปัญหาเรื่องกฎหมายในบางประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐ เช่น หมอแต่ละมลรัฐมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่ใช้ด้วยกันไม่ได้ ถ้า Teledentisty เกิดต่างมลรัฐ อาจมีปัญหาทางกฎหมาย
3. ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน Application หรือ Hardware ใครจะเป็นผู้รับ? ต้องให้ผู้ป่วยมีส่วนรับผิดชอบด้วยหรือไม่? (เพราะยังไม่มีการรักษาเกิดขึ้นจริง) หรือ ถ้าตั้งใจเก็บไว้รวมทีเดียวกับค่ารักษาทั้งหมด แล้วถ้าผู้ป่วย ตัดสินใจไม่รักษาต่อหลังจากได้รับแผนการรักษาทั้งหมดแล้วล่ะ? ใครจะเป็นเจ้าภาพเรื่องค่าใช้จ่าย
ตราบเท่าที่ยังไม่มี Project เรื่องนี้จากรัฐบาล (เช่น ทำให้เกิด Teledentistry ระหว่างหมอในโรงพยาบาลชุมชน กับ อาจารย์ในคณะทันตแพทย์) ภาคเอกชนที่มีความพร้อมกว่า คงตัองเป็นผู้เดินหน้าไปก่อน จากโครงสร้างพื้นฐานเท่าที่มีอยู่ (เช่น ความเร็ว internet ที่เร็วที่พอจะ streaming ภาพและเสียงอย่างราบรื่นที่สุดได้ ในค่าใช้จ่ายการลงทุนที่สมเหตุผล)
Teledentistry มีมานานแล้ว และพร้อมใช้นานแล้วจาก Digital dentistry ที่เข้ามามีบทบาทอยู่ก่อนหน้า เพียงแต่สถานการณ์พิเศษอย่าง Pandemic เข้ามาบีบให้มันเกิดขึ้น จนใช้กันในบ้านเราอย่างรวดเร็ว และเราอาจใช้มันจนเป็นเรื่องปกติ ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
Ref:
1. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3894070/#!po=60.4167
2. https://dacemirror.sci-hub.tw/journal-article/ada0b2a8a07608136d7ec9705a544e9b/fricton2009.pdf
3. https://www.ispcd.org/userfiles/rishabh/jioh-02-03-01.pdf