Alginate ที่ไม่คุ้นเคย

11232944_825889167465797_5563349904964219092_n

ผมสะดุดตาหนังสือเล่มนี้เพราะคำว่า “อัลจิเนต” และวางอยู่ในแผงหนังสือของ Pharmacy ครับ หนังสือแต่งโดย ร.ศ.ธเนศ พงศ์จรรยากุล ท่านเป็นอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความรู้พื้นฐานเรื่อง Alginate ของผมต้องระลึกย้อนไปนานมากจากหนังสือทันตวัสดุของท่านอาจารย์ เจน รัตนไพศาล และหนังสือ Phillips’science of dental materials ของ Kenneth J. Anusavice (หนังสือ Dent Mat ทั้ง 2 เล่มนี้ มีหลายๆสิ่ง ที่คล้ายกันมาก)

แต่แตกต่างกัน คือ หนังสือ Dental Materials ของท่านอาจารย์ เจน รัตนไพศาล ได้รับการตีพิมพ์เพียง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกปี พ.ศ.2522 และครั้งที่ 2 (ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย) คือปี พ.ศ.2533 ครับ (ท่านอาจารย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วย Heart failure เมื่อปี พ.ศ.2541)

หนังสือทันตวัสดุ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ความหนาเกือบ 600 หน้า

10665889_825894307465283_2709645691316170383_n

ในขณะที่หนังสือ Dent Mat ของ Anusavice ตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบันคือ 12th edition ละครับ

โดยพื้นฐาน Alginate ที่ใช้เป็น impression material ของทันตแพทย์ และที่ใช้เพื่อเป็นส่วนผสมในตัวยาในทางเภสัช มันคือ Alginate ตัวเดียวกันครับ

สิ่งที่เราเข้าใจตรงกัน คือ Alginate เป็น Polymer ชนิดเชิงเส้น (Linear polymer)

คำว่า เชิงเส้น คือ ประกอบด้วยหน่วยย่อย (monomer) ต่อเรียงกันเป็นโซ่เส้นยาวๆ

สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือ monomer ของ Alginate ที่เขียนในหนังสือทันตวัสดุ คือ การต่อกันเป็นสายยาวๆ ของ Beta-d-manuronic acid เพียงชนิดเดียว (เหมือนกันทั้งในหนังสือ อาจารย์เจน และ Anusavice ครับ)

แต่ในหนังสือของ ร.ศ.ธเนศ monomer ของ Alginate จะประกอบไปด้วย monomer 2 ชนิดประกอบกันเป็น chain คือ Beta-d-manuronic acid (เหมือนใน Dent Mat) และ Alpha-L-guluronic acid

B-d-manuronic acid แทนด้วย M และ Alpha-L-guluronic acid แทนด้วย G

1888537_825901700797877_4819107941640191477_n

(จะสังเกตว่า รายละเอียดเรื่อง Alginate ของทางเภสัช มีรายละเอียดที่เยอะกว่าของเรามากครับ ถ้าเข้าใจว่า ทันตแพทย์รู้เรื่อง Alginate มากกว่าเภสัชกร นี่นับเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนแน่นอนครับ)

ในทางทันตแพทย์ เราถือว่า Alginate เป็นสิ่งที่ไม่ให้คนไข้กลืนลงคอเข้าไปใน GI แต่ตรงกันข้าม สำหรับหนังสือเล่มนี้แล้ว Alginate ในฐานะที่ทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของยา (active ingredient) และในฐานะเป็นส่วนประกอบเสริม(สารปรุงแต่งยา(excipient)) ล้วนเป็นสิ่งที่คนไข้กลืนและกินได้ทั้งสิ้นครับ

ขอยกตัวอย่างหนึ่ง(จากในหนังสือเล่มนี้) เป็นยาที่คนทั่วไปคุ้นเคย

คือ ตำรับยา Gaviscon ยารักษาโรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal reflux disease) ที่ใช้ Alginate เป็นส่วนประกอบหลักของยา

10660243_825905070797540_4564187695442314880_n

Alginate ใน Gaviscon จะเปลี่ยนเป็น Algenic acid เมื่อมันสัมผัสกับกรดในกระเพาะ

Alginic acid ที่เกิดขึ้นมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ (เหมือนกลไกการผสมวัสดุพิมพ์ปาก Alginate คือ ตอนแรก Alginate จะละลายน้ำได้กลายเป็น Alginate salt เมื่อ Alginate salt ทำปฎิกิริยาต่อไป (กับ CaSO4) ได้ Alginate ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ (คือผันกลับปฏิกิริยาไม่ได้อีกต่อไป))

เมื่อไม่ละลายน้ำ Alginate ใน Gaviscon จะต่อกันเป็นสายและมีจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นแผ่น polymer คล้ายแพขึ้นในของเหลวบริเวณส่วนบนของกระเพาะที่ติดต่อกับหลอดอาหาร (Raft-forming agent =สารก่อเกิดแพ) แพนี้จะทำหน้าที่ยึดติดบริเวณ mucous membrane ป้องกันการไหลย้อนของกรดขึ้นไปสู่หลอดอาหาร ในที่สุด

สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล (Laminaria hyperborea) แหล่งกำเนิดของ Alginate ในธรรมชาติ (พบได้ปริมาณ 40% ของน้ำหนักแห้งของสาหร่ายใน family นี้) หลังจากผ่านขบวนการสกัด เพื่อให้ได้ Alginate ในรูปที่ละลายน้ำได้ คือ โซเดียมอัลจิเนต (Na Alg กับ Alginate คือสิ่งเดียวกัน เป็นคำที่ใช้เรียกแทนกัน)

11214323_825913250796722_1977711161527831815_n

link   สั่งซื้อหนังสือ อัลจิเนต พอลิเมอร์ธรรมชาติสู่ระบบนำส่งยา สำหรับผู้ที่สนใจอ่านเพิ่มเติมครับ

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s