เป็นหนังสือภาษาไทยที่เขียนโดยท่านอาจารย์ Operative เล่มที่ 6 ที่ผมเคยอ่านมาครับ เล่มนี้ถือเป็นเล่มล่าสุดที่ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 2558
ถ้าไม่นับตอนสมัยเรียน Sheet ภาควิชา Oper มช.ถือว่าเป็นเอกสารประกอบการสอนที่ละเอียดมาก ในสมัยนั้นการใช้ Powerpoint และการพิมพ์แบบใหม่ทำให้ font ที่คมชัด กระตุ้นความรู้สึกในการอ่านและเก็บรักษาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
ความรู้เรื่อง Operative ของทันตแพทย์ไทยค่อนข้างสูง ด้วยเพราะความแข็งแกร่งของชมรมทันตกรรมหัตถการ ที่ออกวาสารทันตกรรมหัตถการ ตั้งแต่ปีแรกในปี พ.ศ.2543 ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปีปัจจุบัน
หน้าตาของวารสารทันตกรรมหัตถการ ปีที่ 1 เล่ม 2 ปี 2543
ในจำนวนหนังสือภาษาไทย Oper ทั้งหมดที่ออกมาทั้งหมดในรอบ 10กว่าปี จะเป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับ Tooth colored restorations ทั้งหมด ทั้ง Anterior และ Posterior restorations ( ไม่มีเล่มใดกล่าวถึง Amalgam restoration เลย ถ้าไม่นับที่กล่าวไว้ในส่วน Core build up นะครับ)
ท่านอาจารย์ ยุทธนา คูวุฒยากร ผู้แต่งหนังสือเล่มที่ผมรีวิวนี้ ถิอเป็นอาจารย์รุ่นใหม่ที่น่าจับตามาก ถ้าใครได้เปิดหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่หน้าแรก คงจะพูดแบบผมนี่หละครับ เพราะหนังสือราคา 1,100 บ. สมมติถ้าเปลี่ยนหนังสือเล่มนี้เป็น Textbook ราคาหนังสือน่าจะอยู่ประมาณ 10,000 บ.
หนังสือเป็นปกแข็งอาบมัน และรูปภาพแบบจัดเต็ม ที่ความหนาประมาณ 280 หน้า
ผมลองเทียบกับหนังสือ The Martian เล่มที่อยู่ข้างบนหนา 400 หน้า ด้วยคุณภาพของกระดาษจะเห็นความหนาออกมาพอๆ กัน
โครงสร้างของหนังสือแบ่งออกเป็น 10 บท ล้อตามการทำงาน filling ในคลินิก เริ่มที่บทที่ 1-4 เป็นเรื่องพื้นฐานของ composite resin (ผมติดเรียกแบบนี้มากกว่าคำว่า resin composite ครับ) ในด้านทันตว้สดุ และพื้นฐานของ Dental anatomy รวมๆ กัน
การทำงานในคลินิกจะเริ่มที่ บทที่ 5 การเทียบสีฟันและแผนภาพฟัน
บอกตามตรง ผมเพิ่งเคยเห็น Shade guide ตัวนี้ครับ ได้เห็นวิธีใช้ในหนังสือแล้วรู้สึกมันอลังการมาก
เริ่มบทที่ 6 (ครึ่งทางในครึ่งหลังของหนังสือ) เป็น filling Cl III ครับ ละเอียดมากให้เห็นกันตั้งแต่ bevel ตามรูปเลยครับ
บทที่ 7 เป็นเรื่อง filling Cl IV
บทที่ 8 เรื่อง Veneer และ บทที่ 9 เรื่องปิด Diastema จนจบ บทที่ 10 เรื่อง Polishing และคำแนะนะในการเลือก case & maintainance ครับ
ในบรรดาทั้ง 10 บท ผมให้บทที่ 4 เป็นบทที่อ่านผ่านยากที่สุด เพราะเป็น art ล้วนๆ เลยครับ ทำความเข้าใจยากมากสุดแล้วบทนี้
ผมต้องใช้วิธีอ่านข้ามครึ่งหลังของบทที่ 4 คือ อ่านแบบ scan ไปก่อนครับ เพื่อไปอ่านครึ่งหลังของหนังสือ ตั้งแต่บทที่ 6-10 พบว่า อ่านง่ายมาก (คงเป็นเพราะคุ้นเคยกับงานที่ทำมากกว่า) แล้วค่อยถอยกลับมาอ่านบทที่ 4 เป็นบทสุดท้ายจนจบอีกครั้ง
บทที่ 10 ท่านอาจารย์เน้นเรื่อง polishing มาก (ซึ่งช่วยให้ผมตระหนกในงานที่ทำเพราะบางทีก็ชอบใช้ Rebonding technic หรือ Composite sealant แบบลักไก่เวลารีบๆ ครับ)
ราคาเต็มหนังสืออยู่ที่ 1,100 บ. แต่ถ้า สั่ง Online ได้ส่วนลดครับ
สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ ทำให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่องที่ผม filling อยู่เป็นงาน routine ทุกวัน จนทำให้ละเลยรายละเอียดที่ช่วยให้งานที่ออกมาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ครับ และอยากลองใช้ Composite resin ยี่ห้ออื่นๆ ตัวที่ไม่เคยใช้ น่าสั่งมาเล่นดูบ้าง ถ้ามี Guide แบบในหนังสือไม่ยากเลยครับ เพื่อเปลี่ยนงานแบบซ้ำๆ ทุกวันให้เป็นงานที่ท้าทายและสนุกขึ้น
นอกจาก ชื่อท่านอาจารย์ รศ.ทพ.มนตรี จันทรมังกร,ท่านอาจารย์ รศ.ทพ.เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์, แล้วชื่อของท่านอาจารย์ ยุทธนา คูวุฒยากร เป็นชื่อที่น่าจับตามองมากในขณะนี้และอนาคตครับ