หากว่าน้อยไป ฉันจะเล่าให้ฟัง

ถ้าใครได้พบหนังสือ Phillips’ Science of Dental Materials เล่มล่าสุด คือ 13th Edition อาจจะรู้สึกแปลกๆ ในทันทีที่ค่อยๆ ดึงหนังสือ ออกมาจาก shelf ครับ

ที่รู้สึกแปลกนั่นก็เพราะความหนาของ edition นี้ลดลงจาก Phillips’ Science ที่เราคุ้นเคยกันประมาณครึ่งนึงครับ

จากรูป 13th ed คือ เล่มบน และ 12th ed คือ เล่มล่าง

ขนาด Text กว้าง x ยาว เท่ากัน
หน้าตา 12th ed

เทียบความหนาในอีกมุม ซ้ายมือของท่านผู้อ่านคือ 12th ed ขวามือคือ 13th ed

คำถามคือ ความหนาของ Text ที่ลดลงไป หายไปไหน?

ผมจะเล่าให้ฟัง

หนังสือที่ถือเป็นแกนหลักของ Dent Mat สำหรับหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ศึกษา มาอย่างยาวนาน ที่เป็นหนังสือภาษาไทย คือ เล่มนี้ครับ

หนังสือทันตวัสดุศาสตร์ ของท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ เจน รัตนไพศาล มีการตีพิมพ์ทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2522 และครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2533 (ห่างกัน 10 ปี)

(ถ้าไม่นับหนังสือ เฉลยคำถามทันตวัสดุและอุปกรณ์ ของท่านอาจารย์)

แกนหลักของหนังสือ แบ่งเป็น 3 ส่วน

1. Basic science

2. Dental materials โดยในส่วนนี้ การพิมพ์ครั้งสุดท้ายเพิ่มในส่วน Dental handpiece, Dental unit, Hand instruments ทาง Oper และ Surg, Burs, Dentifrices, Denture cleanser, กาวติดฟันปลอม

3. ภาคผนวก ส่วนนี้เป็นภาคผนวกที่อลังการมาก เพราะมีกระทั่งหมวดชื่อ บริษัทที่สร้าง products ต่างๆ

แสดงหน้าตาของ Content

หน้าสารบัญของภาคผนวก

ถ้าเราลองเทียบเคียง Content ของ Phillips’ Science 12th ed กับ หนังสือทันตวัสดุศาสตร์ ของท่านอาจารย์ เจน จะพบว่า มีความคล้ายกันในการแบ่งโครงสร้างเนื้อหา แม้จะมีระยะห่างระหว่างกัน ~ 20 ปี

ถึงจะเขียนคนละภาษา แต่ขนาดใกล้เคียงกันมาก

มาดู Content ของ Phllips’ Science 12th ed

เราจะมองเห็นหนังสือแบ่งออกเป็น 4 part แต่ถ้าลองมองเนื้อหาจริงๆ พบว่า ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ครับ

Part 1 Basic science

Part 2, 3, 4 Dental materials

และ ภาคผนวกปิดท้าย

การเรียงลำดับบท “เกือบ” สุดท้ายจะปิดด้วย Dental implants เหมือนกัน แต่ Phillips’ Science จะไม่มีเรื่อง Handpiece, Unit แต่มีเรื่อง Dentifrices, Denture cleanser (ไม่มี Denture adhesive)

สรุปถึงตอนนี้ คือ ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของ Phillips’ Science ที่ใช้เป็นหลักสำหรับการใช้สอนในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ของไทยมาอย่างยาวนาน

แต่เดิม แรกเริ่มนั้น หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อ Phillips’ Science ครับ

แต่ใช้ชื่อว่า The Science of Dental Materials ครับ ผู้แต่ง คือ Dr. Eugene W. Skinner ตำแหน่ง Professor of physics at Northwestern U

School of Dentistry in Chicago

หนังสือ The Science of Dental Materials 1st ed ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) คือ ปีที่ตีพิมพ์ครั้งแรก เป็นปีที่ ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ เจน รัตนไพศาล อายุ 16 ปี พอดีครับ

หลังจากนั้นก็เป็น

The Science of Dental Materials 2nd ed

The Science of Dental Materials 3rd ed

The Science of Dental Materials 4th ed

The Science of Dental Materials 5th ed ซึ่งการตีพิมพ์ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ คือ Dr. Skinner ได้นำ Dr. Ralph W. Phillips มาเป็นผู้แต่งร่วมครับ

ในระหว่างจะตีพิมพ์ครั้งที่ 6 ปรากฏว่า Dr. Skiner เสียชีวิตครับ

The Science of Dental Materials 6th ed ตรงกับปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509 ในปีนี้ ท่านอาจารย์ เจน จบเป็น ทันตแพทย์ เรียบร้อยแล้วจาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ครับ)

ท่านอาจารย์ Dr. Ralph W. Phillips จึงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น Skinner’s Science of Dental Materials ในการพิมพ์ครั้งที่ 7

Skinner’s Science of Dental Materials 7th ed

Skinner’s Science of Dental Materials 8th ed

Skinner’s Science of Dental Materials 9th ed

(ตอนที่ผมเริ่มเรียน Dent mat ในคณะ ผมทันชื่อ Skinner’s Science ครับ)

แต่ก่อนจะตีพิมพ์ครั้งที่ 10 ท่านอาจารย์ Dr. Phillips เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1991 ครับ (ตรงกับ พ.ศ. 2534 ซึ่งเวลานี้ หนังสือทันตวัสดุศาสตร์ ภาษาไทย ของท่านอาจารย์ เจน เป็น 2nd edition เรียบร้อยแล้ว)

ในการตีพิมพ์ครั้งที่ 10 หนังสือจึงได้รับการเปลี่ยนชื่ออีกครั้ง และเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเปลี่ยน Editor เป็น Dr. Kenneth J. Anusavice

Phillips’ Science of Dental Materials 10th ed

Phillips’ Science of Dental Materials 11th ed

Phillips’ Science of Dental Materials 12th ed

ลองมาดูรายชื่อ Author และ Co-author ของเล่มที่ 12

จะเห็นชื่อ Co-author คือ Dr. Chiayi Shen และ Dr. H. Ralph Rawls

ซึ่งต่อมาในการตีพิมพ์ครั้งที่ 13 ทั้ง 2 ท่านนี้เป็น Author แทน Dr. Anusavice ครับ

Phillips’ Science of Dental Materials 13th ed

ok มาถึงตรงนี้ สรุปคือ เปลี่ยน Author ใน Phillips’ Science เล่มล่าสุด แล้วทำไมหนังสือบางลงครึ่งนึงของความหนาเดิม

หรือ ราคาขายจะลดลงหรือเปล่า?

คำตอบคือ ไม่ใช่เรื่องราคาครับ เพราะ 13 th ed แพงกว่า 12th ed ~ 100% ณ เวลาที่ซื้อคือ ปี ค.ศ. 2021 ( พ.ศ. 2564)

ราคาของ 12th ed อยู่ที่ 1,900 บาท

ราคา 13th ed อยู่ที่ 3,590 บาท

เหตุผลที่ Τextbook Dent Mat บางลง เพราะ เป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการใช้ทันตวัสดุในวิชาชีพ ทันตแพทย์นั่นเองครับ

ถ้าย้อนกลับไปใน Phillips’ Science 10th ed จะพบว่า มีจำนวนบททั้งหมด 30 บท และถูกยุบมาเหลือ 23 บท ใน 11th ed โดยเรื่องที่ถูกยุบรวมกัน คือ

Impression materials, Casting invesment and procedures, Dental cements, Amalgams, Dental casting and soldering alloys

นั่นคือ แนวโน้มของวัสดุบางประเภทที่ “เริ่ม” ลดความสำคัญลง เมื่อเวลาเปลี่ยนไป และมี technology ใหม่ๆ ที่ก้าวเข้ามา

แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เริ่มเกิดในรอยต่อของ 12th ed กับ 13th ed ครับ

ให้ลองดู Contents เทียบกัน 12th ed รูปบน, 13th รูปล่าง

ใน 12th ed นั้น Dr. Anusavice ยังแบ่งเป็น 4 part แบบเดิม

แต่ใน 13th ed หนังสือเพิ่มมาอีก 1 part เกิดการการจัดหมวดบทเรียนเก่า และใหม่ ทั้งยุบรวม และเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่

สังเกตว่า นอกจากจำนวน part ที่เพิ่มขึ้น ยังมีการจัดหมวดใหม่ เช่น Αuxillary materials ที่ 12th ed เคยจัดเป็น Part 2 ใหญ่ ที่ประกอบไปด้วย Ιmpression, Gypsum, wax ถูกยุบรวมกันเป็นบทย่อย บทที่ 13 อยู่ใน Part 4 Fabrication of Prostheses เท่านั้น

มาลองดูความแตกต่างอย่างชัดเจนของ 2 เล่มนี้ ในหัวข้อ Auxillary materials กันครับ

12th ed

13th ed

ส่วนประกอบของ Auxillary materials ใน 13th ed ยังมีเหมือนๆ กับ 12th ed

แต่ถ้าลงลึกเข้าไปจะพบว่า บางเรื่อง หรือ บางรูปประกอบคำอธิบายที่สำคัญ เช่น Maxwell-Voigt model ที่ใช้อธิบายเรื่องพฤติกรรมของ Impression materials ชนิด Elastomer เมื่อได้รับแรง และการเปลี่ยนรูป ที่อธิบายอย่างละเอียด ใน 12th ed หายไปทั้งยวงใน 13th ed ครับ

รูปนี้ไม่มีใน 13th ed เล่มล่าสุด

(อธิบายโดยสรุป วัสดุพิมพ์ปากชนิด Elastomer ( Polysulfide, Condens silicone, Addition silicone, Polyether : ผมเรียงตาม Stiffness) จะมีคุณสมบัติที่อยู่ระหว่าง ความเป็น Elastic solid กับความเป็น Viscous liquid

คือ ยืดได้จำกัด และ หนืดได้จำกัด เรียก Viscoelastic solid ซึ่งอธิบายด้วย Maxwell-Voigt model โดยการต่อของ Spring S1, S2 แบบอนุกรมกัน และการต่อของลูกสูบ+กระบอกสูบ D2,D1 แบบอนุกรม ส่วน S2 และกระบอกสูบ D2 ต่อแบบขนาน

ในชั้นแรก เมื่อมีแรงกระทำต่อระบบในรูป สปริง S1 จะเป็นตัวรับแรง เกิดการเปลี่ยนรูป (Strain) ที่ S1 โดยยังไม่มีผลต่อ S2, D1, D2

ต่อมา เมื่อยังให้แรงเท่าเดิม ต่อไปเรื่อยๆ สปริง S1 จะเปลี่ยนรูปมากขึ้น แล้วขอให้ D2, S2, D1 มาช่วยรับแรง จึงทำให้สปริงและกระบอกสูบทั้งระบบเปลี่ยนรูป —> ตรงนี้เทียบกับ Addition silicone ผ่าน Setting time จนถึงขั้นที่เราต้องดึง impression ออกจากปาก Pt ถ้าเราใช้แรงดึงแบบดึงนานๆ กว่า impression จะผ่านจาก undercut ทั้งหลาย แรงที่ทำให้กระบอกสูบเปลี่ยนรูป จะเกิดขึ้น (ถึงแม้ สปริงจะคืนตัวได้ดังเดิม)

เมื่อนำแรงออกไป S1, S2 คืนกลับได้ 100% (สปริง แทนคุณสมบัติ Elastic solid) แต่ลูกสูบ D2 และ D1 (ลูกสูบอยู่ในกระบอกสูบที่มี liq หนืดหล่อลื่น แทนคุณสมบัติ Viscous liq) ไม่สามารถ recovery กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้นได้

จึงเทียบได้กับ Action ที่เราใช้ Elastomer พิมพ์ปาก คือ ต้องใช้แรงดึงแบบใช้เวลาน้อยสุด (เป็น Time dependent ไม่ใช่ Force dependent คือ ดึงแรงหรือเบาก็ได้ แต่ต้องใช้เวลาดึงที่น้อยที่สุด) และหลังจากดึงออก ต้องมีเวลาให้ ลูกสูบ D2, D1 recover โดยทิ้งวัสดุไว้ซักพัก (ไม่เทงานทันที) )

เรื่อง Wax มีปกติใน 13th ed ครับ แต่เรื่อง Compound หายไปเลย

Compound ยังมีอยู่ใน 12th ed แต่หายไปทั้งเรื่องใน 13th ed ครับ

หลายเรื่องของ 13th ed ก็ยังใช้ 12th เป็นแกนหลักในการเขียนเหมือนเดิม เช่น เรื่อง Basic science

รูปหลายรูปยังยกมาเหมือนเดิม

แต่บางรูปถูกตัดทิ้งไป เช่น รูปที่อธิบาย Galvanic

เทียบในเนื้อหาเดียวกันของทั้ง 2 เล่ม 12th ed อยู่ซ้ายมือ

ให้ดูการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ แต่แสดงถึง ผลกระทบทางคลินิกบางอย่าง

รูปการทำ Undercut ใน GVB Cl V รูปนี้ หายไปใน 13th ed ครับ

แต่ในขณะที่รูป basic อย่าง Sealant ดันยังมีอยู่เหมือนเดิม

เรื่อง Dental cement รูปแสดงการผสม Water-base cement ที่ท่านอาจารย์สอนในคณะ demon จนชินตา ไม่มีแล้วในเล่มล่าสุดครับ แต่ 13th ed ทดแทนด้วย ภาพการอธิบาย กลไกการก่อตัว และรูป SEM

เรื่อง Invesment ยังคงมีอยู่

สังเกตว่า ถ้ามี materials ในยุคเก่า ถ้ายังพูดถึงในเล่มล่าสุด ส่วนใหญ่ท่านอาจารย์จะยกรูปเดิมจาก 12th ed มาเลย

Amalgam เป็นบทที่ผมลุ้นมาก ว่า เล่มใหม่จะเขียนถึงอย่างไรบ้าง?

ในเล่มใหม่ Amalgam ถูกตัดออกไป 10 หน้าครับ
รูปก็ใช้รูปเดิมทั้งหมด ตามคาด

บทสรุป เรื่องการใช้ Amalgam filling ยังเหมือนกันทั้ง 2 เล่ม (ตราบใดที่ยังใช้ Hg เป็นส่วนประกอบอยู่ ยิ่งทำให้อนาคตของวัสดุตัวนี้ ริบหรี่ลงเรื่อยๆ)

รูปที่แสดง บทที่เพิ่มเข้ามาใน 13th ed (ไม่มีใน 12th และทุก edition ก่อนหน้า)

สิ่งที่น่าตกใจนอกจากความหนาของ Textbook ที่ลดลง และราคาของมันที่เพิ่มขึ้น คือ แนวโน้มของการเลิกใช้งานของทันตวัสดุบางตัวในอนาคต ซึ่งแน่นอน เกือบทุกตัวที่มีในคลินิก เรานำเข้ามาทั้งหมด โดยไม่มีการผลิตใช้ภายในประเทศ

ถึงแม้เราไม่อยากปรับตัว ในการทำงาน ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง ต้องการให้เหมือนปัจจุบันและทำงานให้เหมือนในอดีต เหมือนที่เราเรียนในคณะ ใช้วัสดุแบบที่อาจารย์สอน แต่ควรตระหนักว่า เนื้อหาใน Textbook จะ update ทุก ~ 5 ปี ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่เราอ่านใน Text เล่มล่าสุด คือ อ่านสิ่งที่อยู่ในอดีตเสมอ (Text ใช้เวลาเก็บข้อมูล และเขียน-proof แล้วตีพิมพ์) ในอีก 5 ปี ข้างหน้า Phillips’ Science of Dental Materials อาจไม่มีการเขียนเรื่อง Impression materials, Gypsum products และ Wax แล้ว เพราะประเทศต้นทางผู้ผลิต ไม่มีการผลิตวัสดุเหล่านี้มาใช้อีกต่อไป

ยกเว้นว่า คุณหมอวางแผนจะเกษียณ วางมือจากวงการทันตแพทย์ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องปรับตัวใดๆ เลย แต่ถ้ายังทำงานต่อไปเรื่อยๆ ในอีก 10 ปีข้างหน้า การเริ่มปรับตัวตั้งแต่ในปีนี้ ก็ยังไม่ถือว่าสาย

ขอใช้บทความนี้แทน ส.ค.ส. ส่งความสุขปีใหม่ 2566 นะครับ

Ref:

1. https://evolve.elsevier.com/cs/product/9780323697552?role=student&CT=TH

2. https://evolve.elsevier.com/cs/product/9781455748136?role=student&CT=TH

3. http://www.thebookbun.com/product/9980/ทันตวัสดุศาสตร์-เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลประเภทเรียบเรียงประกอบปาฐกถา-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-ผู้เขีย

4. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศ.พิเศษ ทพ. เจน รัตนไพศาล

Leave a comment