ตามที่ราชวิทยาลัยทันตแพทย์ เชิญชวนให้ร่วมเสนอความเห็นต่อ (ร่าง) คู่มือป้องกันรังสี
หลังจากได้อ่าน (ร่าง) คู่มือป้องกันรังสี ทั้งหมด 116 หน้า จนจบ 1 รอบ รู้สึกตาลายมาก ขออนุญาตท่านอาจารย์อ่านเพียงรอบเดียวเท่านั้นครับ
(ร่าง) คู่มือป้องกันรังสี ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์
(ร่าง) นี้ประกอบด้วยบทความทั้งหมด 7 บท เนื้อหาจริงคือ ตั้งแต่บทที่ 1-บทที่ 6, ส่วนบทที่7 เป็นการสรุปของบทที่ 1-6
โครงสร้างการเขียน (ร่าง) คู่มือป้องกันรังสี เรียงหัวข้อล้อตาม Basic Safety Standard ของ ICRP (International Commission on Radiological Protection: คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านการป้องกันรังสี)
คือ เริ่มด้วย Justification –> Optimization –> Dose limits ในบทที่ 1 –> 2 –> 3
สารบัญของ (ร่าง) คู่มือป้องกันรังสี
บทที่ 5 เรื่องการควบคุมการติดเชื้อ ถ้าได้อ่านเรื่อง IC ก่อน จะเข้าใจได้ง่ายมากครับ (อ่านเรื่อง IC ได้ที่นี่)
ผมขอเสนอความเห็นออกเป็น 2 เรื่องต่อ (ร่าง) คู่มือป้องกันรังสีเท่านั้นครับ การเสนอความเห็นจะเรียงลำดับหน้า จากหน้าที่ 1 ไปจนจบ
2 เรื่องที่เสนอ คือ
1.คำผิดของ (ร่าง) เยอะมากๆ (ผมเข้าใจว่าเป็นร่าง แต่คำผิดมีเยอะจริงๆ ครับ) ขอเสนอให้ท่านอาจารย์พิสูจน์อักษรหลายๆครั้ง
คำผิดที่ผมเจอเกิดจากการอ่าน 1 รอบ จึงคิดว่า น่าจะมีคำผิดเยอะกว่าที่ผมจะแสดงไว้ในที่นี้ครับ
2.เสนอให้เพิ่มเนื้อหาคำอธิบาย เพิ่มเติม เพื่อให้อ่านเข้าใจขึ้นครับ ผมคาดว่าปัจจุบันวิชาทันตรังสีที่สอนในคณะ น่าจะมีเนื้อหาขยายไปมากกว่าสมัยที่ผมเคยเรียน
ด้วยความรู้สึกที่อ่านร่างนี้แล้วมีส่วนที่ไม่คุ้นเคย ไม่เข้าใจเยอะมาก จึงขอเสนอให้ท่านอาจารย์เพิ่มเติมในบางส่วนครับ
ข้อเสนอของผมมีดังนี้ครับ
1. คำผิด “รู”
2. คำเต็มของ ALARA ผิดครับ (As Low As Reasonably Achievable)
3. คำผิด “ขบวนการ”
4. เพื่อลดความสับสนในการอ่าน ผมขอเสนอให้ใช้คำแปลศัพท์ตัวเดียวกันหมดทั้งเล่ม สำหรับศัพท์คำเดียวกันครับ
คำที่ผมเจอคือ bite-wing film ครับ มีการเรียกการถ่ายด้วยเทคนิกนี้ไม่ซ้ำกันถึง 3 คำเรียกชื่อ
ในหน้าที่ 5 ใช้คำว่า “ภาพรังสีด้านประชิด”
หน้าที่ 53 ใช้คำว่า “ภาพรังสีไบท์วิงค์”
ส่วนหน้าที่ 55 ใช้คำว่า “ภาพรังสีกัดปีก”
ถ้าลองเปิด พจนานุกรมศัพท์แพทยศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2533 จะพบความหมายดังนี้
จึงอยากให้ปรับใช้คำเรียกเพียงแบบเดียวครับ (แบบไหนก็ได้ ที่ท่านอาจารย์เห็นว่าเหมาะสมครับ)
5. คำผิด “โปรแกรม”
6. คำผิด “พีระมิด”
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต จะใช้คำนี้ครับ
7. คำผิด “โดยตรง”
8. เพิ่มเนื้อหาคำอธิบาย ปริมาณรังสียังผล, ปริมาณรังสีสมมูล คืออะไร? มีความสัมพันธ์กันอย่างไร? ในบทที่ 3 เรื่อง ขีดจำกัดปริมาณรังสี (Dose Limits)
ส่วนที่อยากให้ท่านอาจารย์เพิ่มเติมจะประมาณนี้ครับ
เพิ่มเติมเรื่อง หน่วยวัดปริมาณรังสี ความสัมพันธ์ระหว่าง หน่วย gray (Gy) และ Sievert (Sv)
เอาแบบคร่าวๆ ไม่ต้องละเอียดขนาดนี้ครับ
http://www.nst.or.th/article/article493/article493020.html
แต่พอให้เข้าใจว่า ทำไมปริมาณรังสียังผล และปริมาณรังสีสมมูล สำหรับ X-ray, แกมม่า จึงมีค่าเดียวกันได้ และใช้ Gy แทน Sv ได้ในบางกรณี
9. เพิ่มเติมเรื่อง ความแตกต่างของ Deterministic effect กับ Stochastic effect
ในกรณีของการเกิดต้อกระจกจากรังสี ผมเชื่อว่ายังมีหลายคนแยกไม่ออกว่า lesion นี้คือ Deterministic หรือ Stochastic effect จากรังสีครับ?
อยากให้อธิบายเพิ่มประมาณนี้ครับ