จากกระทู้ใน facebook ของทันตแพทยสภาเรื่อง “จุดเริ่มต้นและลำดับเหตุการณ์ การต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ”
ที่หลายท่านน่าจะได้ผ่านตามาอย่างคุ้นเคยแล้ว ผมลองนำมาเทียบกับการเดินทางตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันของ พรบ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.2559 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างน่าประหลาดใจ ดังจะได้เทียบลำดับเหตุการณ์ตามเลขลำดับ 0,1,2,3,… จนถึงจุดสิ้นสุด ณ วันที่พรบ.นี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
0 –> 19 ก.ย. 2549 เกิดการปฏิวัติโดย คปค. สิ้นสุดยุค นายกฯ ทักษิณ
1 –> 11 เมษายน 2550 ได้มีการเสนอร่างกฎหมายต่อ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติโดย ครม.ของ นายกฯ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เห็นชอบในหลักการและเหตผุลของ ร่างพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ แต่สภาได้หมดวาระลง จึงทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าว ถูกส่งกลับไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่ 5)
ข้อสังเกตแรกคือ พรบ.มีจุดเริ่มต้นจากช่วงเวลาเกิดการรัฐประหาร
จุดที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นเดินหน้า พรบ.จริงๆ จะเริ่มที่ timeline ลำดับที่ 2 ครับ มีการรัฐประหารอีกครั้งโดย คสช. ในช่วงกลางปี 2557
2 –> 22 มิถุนายน 2558 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจแล้วเสร็จ โดยปรับปรุงเป็นร่างกฎหมายใหม่ จํานวน ๑๕๒ มาตรา
3 –> 4 สิงหาคม 2558 ครม.ของ นายกฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงมติเหน็ชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. โดยให้สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไข มาตรา ๑๓ (๖) และมาตรา ๑๐๑ วรรค สอง
ถ้าตอนนี้ลองมองกลับไปที่รูปข้างบนอีกครั้ง จะเห็นว่า timeline ลำดับที่ 3,4,5,6,7,8,9 เบียดกันแน่นมาก มากจนกระทั่งจะกลายเป็น bar กราฟแท่งครับ ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2558 ถึง ธันวาคม 2558 กระบวนการเดินหน้าไปอย่างเร็วมาก ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 2558 เกิดลำดับเหตุการณ์ดังนี้
4 –> 24 สิงหาคม 2558 วิป ปนช.ได้มีมติให้ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานําร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. ไปทบทวนแก้ไขปรับปรุง โดยตัดประเด็นอันเกี่ยวกับ “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ที่ปรากฏอยู่ในหมวดต่างๆออก
ข้อสังเกตคือ มีความอ่อนไหวเรื่องการใช้ wording โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก จน วิป ปนช.(วิป ปนช.คือ คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ประสานงานกับ สนช.(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อทำความเข้าใจกับสมาชิก สนช.ก่อนจะให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่านกฎหมายต่างๆ)
5 –> 9 พฤศจิกายน 2558 วิป ปนช.ได้มีมติเห็นชอบในหลักการก่อนนําเข้าประชมุกับคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร่างพระราชบญัญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. ก่อน นําเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ข้อสังเกต จะเห็นว่าหลังจาก ปส.กับ กฤษฎีกา ไปแก้ไข wording ที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกประชาชน แล้ว วิป ปนช. OK
6 –> 19 พฤศจิกายน 2558 คณะกรรมาธิการการพลังงาน เชิญ ปส. เข้าร่วมชี้แจงหลักการและเหตุผลในการ แก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ
ข้อสังเกต เริ่มมี คณะกรรมาธิการคณะแรกที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ คณะกรรมาธิการพลังงาน
7 –> 25 พฤศจิกายน 2558 คณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชนฯ ได้ขอเชิญ ปส. เข้าร่วมการประชุมพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัตพิลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ….
ข้อสังเกต คณะกรรมาธิการ ชุดที่ 2 ที่ได้มีโอกาสแก้ไข คือ คณะกรรมาธิการสื่อสารมวลชน ครับ
8 –> 21 ธันวาคม 2558 วิป ปนช.ได้มีมติให้ ปส. กลับมาพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการการพลังงาน และคณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชนฯ โดยเห็นควรแก้ไขชื่อ ร่างพระราชบัญญัติ จาก “ร่างพระราชบัญญัตพิลงังานนิวเคลียร์ พ.ศ. ….” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติพลงังานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ….”
9 –> 25 ธันวาคม 2558 ปส. ได้จัดทํารายงานผลการพิจารณาการแก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. เพื่อรายงานต่อ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
ข้อสังเกต ถ้านับเฉพาะเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558 จะพบว่าเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อการแก้ไข พรบ. ด้วยจำนวนที่ถี่ที่สุดและเป็นการแก้ไข wording เพื่อให้ พรบ.ฟังดู soft ลง และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีคณะกรรมาธิการสาธารณสุขเข้าร่วมพิจารณา
สำหรับในช่วงปลายปีเดียวกันนั้น ทันตแพทย์สมาคมจัดงานประชุมปลายปีตามปกติในวันที่ 15-17 ธันวาคม 2558 ณ Central Word
จนเริ่มเข้าสู่ปีใหม่ 2559 พรบ. ก็ยังเดินหน้าต่อเนื่องในทันทีที่ผ่านพ้นการฉลองปีใหม่และวันเด็กไปแล้ว อย่างจริงจังในขั้นตอนเกือบจะสุดท้าย
10 –> 11 กุมภาพันธ์ 2559 ร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วาระที่ ๑ โดยสมาชิก สนช. ได้ลงมติ เห็นด้วย 189 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและได้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. เพื่อพิจารณารายละเอียดเรียงรายมาตรา
ข้อสังเกต ถ้าในภาวะปกติ ทันตแพทย์และแพทย์อาจสามารถใช้ power เพื่อ lobbying โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการวิสามัญฯ ที่แต่งตั้งขึ้น เพื่อแก้ไขร่างพรบ.นี้ และดูจากเสียงของ สนช.ที่ vote เราจะพบว่า ไม่มีท่านใดคัดค้าน พรบ.นี้เลย (นอกจากงดออกเสียง 2 เสียง ซึ่งน่าจะเป็นท่านประธานและรองประธาน ในที่ประชุม)
เราลองย้อนเวลาไปดู ข้อมูลการประชุมของ สนช. ที่ผ่านวาระที่ 1 ในวันที่ 11 ก.พ. 2559
กดเข้าไปที่ ระเบียบวาระ จะเห็นว่า พรบ.พลังงานนิวเคลียร์ ถูกบรรจุเป็นเรื่องด่วน
ใน บันทึกการประชุม จะมีรายชื่อคณะกรรมการวิสามัญ 15 คน ทำหน้าที่แปรญัตติิให้เสร็จภายใน 15 วัน พร้อมพิจารณา พรบ.นี้ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
จากรายชื่อที่เห็น มีลำดับที่ 15.นางสาว อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติท่านปัจจุบัน
ทีนี้ลองเข้าไปดู รายงานการประชุม เพื่อดูรายชื่อ สนช.ผู้อภิปรายในวันนั้น ไม่พบรายชื่อของ สนช.ที่เป็น คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข อภิปรายในครั้งนี้เลย
สุดท้ายเราลองมาดู บันทึกการลงคะแนน ในครั้งนั้นกันครับ
พบว่า ไม่มี สนช.ผู้ใดคัดค้าน ร่างพรบ.ฉบับนี้เลย
11 –> 12 กุมภาพันธ์ – 11 พฤษภาคม 2559 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. มีการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งหมด จํานวน ๑๙ ครั้ง ได้พิจารณาตรวจสอบ และเพิ่มเติม แก้ไขถ้อยคําในร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. เพื่อเสนอเข้า สนช.วาระ 2-3 ต่อไป
ข้อสังเกต มีการประชุมเพื่อแก้ไขพรบ.นี้ทั้งหมด 19 ครั้ง ช่วงนาทีทอง 3 เดือนผ่านไป ในทั้ง 19 ครั้ง
timeline ลำดับ 10 และ 11 จริงๆ ควรจะนับเป็นครั้งเดียวกันเพราะเวลาต่อเนื่องกันไปเลยครับ
และมาถึง Shot สุดท้ายจริงๆ
12 และ 13 –> 19 พฤษภาคม 2559 ร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วาระที่ 2 และ 3 โดยสมาชิก สนช. ได้ลงมติ เห็นด้วย 144 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ท้ังนี้ ร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. …. ได้ผ่านวาระ 3 เรียบร้อยแล้วโดยมีการแก้ไขชื่อพระราชบัญญัติ จาก “ร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ….” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ….”
ข้อสังเกต สนช.ผ่านวาระ 2 และ วาระ 3 ในวันเดียวกัน โดยมีท่านสมาชิก vote คัดค้าน พรบ.ฉบับนี้เพียงท่านเดียวเท่านั้น
เข้าไปดู ระเบียบวาระการประชุมในวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 พรบ.พลังงานนิวเคลียร์ได้รับการบรรจุเป็นเรื่องด่วน เหมือนที่พิจารณาในวาระแรก
จาก บันทึกการประชุม ผ่านฉลุยโดย สนช.ไม่มีกระทู้ซักถาม
จาก บันทึกการลงคะแนน พบว่า มีการอภิปรายเฉพาะในมาตราที่เกี่ยวกับ สถานประกอบการนิวเคลียร์ และบทลงโทษ เรื่องนิวเคลียร์เท่านั้นครับ โดยไม่เกี่ยวกับ ผลกระทบที่จะเกิดกับวงการสาธารณสุขเลย แม้แต่มาตราเดียว (ลองอ่าน บันทึกการลงคะแนน แล้วเทียบมาตราที่พิจารณากับ พรบ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.2559 ดูครับ)
14 –> 5 สิงหาคม 2559 พรบ.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ พรบ.พลังงานฯ 2559 เกิดขึ้น และดำเนินการในขณะที่อยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการแต่งตั้ง จึงมีการดำเนินการได้รวดเร็วและเป็นเอกภาพมากกว่าในสถานการณ์ปกติ (คือไม่มีฝ่ายค้านในสภา) การบังคับใช้จึงรวดเร็วและมีพลานุภาพมากเมื่อเทียบกับการต่อสู้ในเรื่อง การต่ออายุใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม