เมื่อหลายวันก่อน ขณะที่เดินเล่นในร้านหนังสือ สายตาเหลือบไปเห็นชั้นหนังสือทันตแพทย์ว่างโล่งอยู่ 1 ล็อค ปกติชั้นบนสุดจะวางหนังสือที่เพิ่งออกมาใหม่ ผมรู้ด้วยสัญชาตญาณเลยว่า หนังสือเล่มนี้ hot มากแน่ๆ เลยถามพี่เจ้าหน้าที่ว่า “ตรงนี้เคยเป็นที่วางหนังสือเล่มใด วานบอก?”
พี่เจ้าหน้าที่ check คอมแล้วเดินไปหยิบมาทันใด “หนังสือของอาจารย์ ปิยาณี นั้นไซ้ร ราคา 910 บาท ขาดตัว”
หนังสือ Endo ขนาดหนา 500 หน้าปกอ่อน คุณภาพกระดาษธรรมดา ไม่ได้พิมพ์สีทั้งเล่ม (เพราะถ้าสีทั้งเล่ม ราคาน่าจะ shoot ไปที่ 2xxx บาท) โครงสร้างหนังสือแบ่งออกเป็น 10 บท นอกจากความรู้เรื่อง Endo ยังมีเรื่องอื่นเช่น Phamaco, Dental materials, Oper และ Pros ด้วยครับ
ตอนเปิดมาก็ทำใจว่า รูปต้องเป็นขาวดำแน่นอนนะ แต่พอดูรูปจริงๆ ก็ยังอดอยากให้เป็นสีทั้งเล่มไม่ได้ ถ้าเป็นรูปสี จะงามขนาดไหนนะ
ท่านอาจารย์เหมือนทราบความในใจนักเรียน เลยให้มีสีปนอยู่บ้าง น่าจะประมาณ 5% ของรูปทั้งหมดครับ มีกระจายท้ายบททุกบท โดยเฉพาะ case study มีรูปสีบ้าง
ท่านอาจารย์ รศ.ทพญ.ปิยาณี พาณิชย์วิสัย ผู้แต่งหนังสือ ท่านเป็นประธานชมรมเอ็นโดดอนติกส์แห่งประเทศไทย คนปัจจุบันด้วยครับ
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร? ตอบได้เลยว่า ไม่เหมาะกับเด็กUndergraduate ไม่เหมาะกับทันตแพทย์ที่ไม่ได้ทำงาน Endo สำหรับทันตแพทย์จบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์งาน Endo ก็อ่านลำบากครับ หนังสือเล่มนี้เหมาะกับทันตแพทย์ทั่วไปที่ทำงาน Endo มาซักระยะ จะสามารถอ่านและทำความเข้าใจหนังสือได้ทั้งหมด
เหตุผล เพราะ ผมจะยกตัวอย่างในบทที่ 5 ครับ บทนี้จริงๆ จะเริ่มต้น Mechanical instrumentation ของบทที่ 6 แต่แทนที่จะใช้คำว่า Instruments,Materials and Devices ท่านอาจารย์ใช้คำว่า “นวัตกรรมในงานรักษาคลองรากฟัน” เพื่อจะเป็นการขีดเส้นแบ่งหลักไมล์ของงาน Endo ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ในระยะเวลาที่ผ่านมา 5-10 ปีในอดีต
ถึงจะเป็นทันตแพทย์ที่ทำงาน Endo จนมีประสบการณฺมาก แต่ไม่เคยเข้าประชุม หรือ อ่านเอ็นโดสารมาอย่างต่อเนี่อง ก็ยากที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้เข้าใจทั้งหมดเช่นกัน
หลังจากพ้น Oral medicine ของบทที่ 1 ก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วงคลินิก ตั้งแต่บทที่ 2 จนถึงบทสุดท้าย
มีการเปลี่ยนคำว่า sucess ในการทำงานเป็นคำที่ reasonable กว่านั้น
บทนี้น่าสนใจตรงพูดถึง Endo กับ Implant ด้วยครับ
บทที่ 3 เน้นเรื่อง X-ray กับ วิธีใส่ Rubber dam ครับ ใน case ที่ใส่ยาก ท่านอาจารย์มีรูปให้ดูด้วย
เรื่อง X-ray ในตารางนี้อาจงงๆ กับหน่วยวัด Dose rate ของรังสี เพราะจริงๆมีความแตกต่างกันในการใช้หน่วย เช่น การวัดปริมาณรังสียังผล (Effective dose) และปริมาณรังสีสมมูล (Equivalent dose) หน่วยจะเป็น ซีเวิร์ต (Sv) ครับ ส่วนหน่วย เกรย์ (Gy) ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน แต่ในหนังสือไม่ได้อธิบายรายละเอียดไว้ เพราะอาจจะเยอะเกินครับ















