แว้บแรกที่เห็นในชั้นวาง ผมลังเลที่จะหยิบหนังสือเล่มนี้ออกมาดู เพราะคิดว่าน่าจะเป็นหนังสือพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป แต่หลังจาก scan ดูเนื้อหาคร่าวๆ จึงรู้ว่า ไม่ใช่แบบนั้น
หนังสือมีความหนา 80 หน้า (รวม index) ราคา 100 บาท จากชื่อหนังสือ ถ้าจัดให้เป็นหนังสือ Perio ไม่น่าจะใช่ เพราะจากเนื้อหาทั้งเล่ม น่าจะจัดเป็นหนังสือ Oral med มากกว่า
ถ้าลองดูโครงสร้างหนังสือ จะเห็นว่า ท่านอาจารย์ผู้เขียนต้องการให้อ่านเพื่อทำความเข้าใจและรู้จัก calculus ให้ครอบคลุมจนสามารถให้คำแนะนำกับคนไข้ได้ พูดง่ายๆ คือ หลังจากอ่านจบแล้วเวลาเจอคำถามที่คนทั่วไป ถามหมอบ่อยๆ ก็สามารถตอบได้อย่างมั่นใจที่สุด เรื่อง calculus และ สารเคมีที่เป็นสาวนผสมในยาสีฟันสูตรควบคุมหินปูน
เรื่องสารเคมีที่เป็นสูตรผสมในยาสีฟัน จะอยู่ในบทสุดท้ายของหนังสือ (บทที่ 6 สารต้านหินน้ำลาย)
หนังสือมีรูปประกอบน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือ
font ที่ใช้อ่านง่าย พิมพ์ชัดเจนมาก แต่กระดาษที่ใช้ค่อนข้างสะท้อนแสง เวลานอนอ่านกับไฟหัวเตียงครับ
ถ้าสำหรับเด็ก Undergrad ตารางแบบนี้ต้องออกสอบแน่นอน
ประโยชน์ที่ได้จากหนังสือคือ ช่วย recall ความสำคัญของงาน routine ที่ทำทุกวันอย่างการ Scaling ที่เหมือนจะทำด้วย Spinal cord แต่หลังจากได้รื้อความรู้เรื่อง calculus ทำให้การ Scaling ที่ผมทำทุกวัน ปรับเปลี่ยนไป
หน้าปกหนังสือ แสดงการเกิด หินน้ำลายเหนือเหงือก ซึ่งมักพบบริเวณที่เป็นรูเปิดของท่อน้ำลาย Wharton’s,Bartholin’s duct และด้าน buccal ของ molar บนจาก Stensen’s duct
ส่วนการกระจายและส่วนประกอบของ Sungingival calculus นั้นมีรายละเอียดต่างออกไป
ท่านอาจารย์ลงรายละเอียด ถึงการเกิด Phase tranformation ของ calculus ที่ขึ้นกับค่า pH ของน้ำลาย (ปกติ Phase transformation ของทันตวัสดุเช่น Amalgam,Alloy,Porcelain จะเกิดจากการเปลี่ยนค่า อุณหภูมิและความดัน)
สูตรเคมีเยอะ แต่ไม่มากจนทำให้ปวดหัว สมการเคมีมีสมการเดียว อาจารย์ท่านให้เพื่ออธิบาย สมดุลเคมีของ Hydroxyapatite กับค่า pH (เป็นสมดุลแบบผันกลับง่ายๆ)
อธิบาย คือ ถ้า pH สูงขึ้น (เป็นเบสมากขึ้น คือ OH-มากขึ้น) สมการจะดุลกลับไปทางสารตั้งต้น คือ HA ทำให้ภายใต้สภาวะนี้ HA (ผลึก calculus ในรูป HA) จะละลายได้น้อยลง
อ่านไปเรื่อยๆ จนเกือบจะจบ เมื่อถึงบทสุดท้าย จะรู้สึกตื่นเต้นขึ้นนิดหน่อยที่จะเจอสารต่างๆ ในยาสีฟัน ที่คนไข้ชอบถามว่า มีผลอย่างไร? และยาสีฟันยี่ห้อไหน ใช้ดีที่สุด? ด้วยความรู้ในบทนี้ จะทำให้หมอสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้ดีขึ้นครับ
สิ่งที่ผมชอบเป็นการส่วนตัว คือ ค่าความเร็วในการไหลผ่านผิวฟันของฟิลม์น้ำลายครับ ในสภาวะที่ไม่มีการกระตุ้นและมีการกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย ตัวเลขจะต่างกันประมาณ 40 เท่า (ต่างกันเยอะมาก เป็นตัวเลขที่แปลกดี)
ทำให้ผมหวนคิดถึงการทดลองการวางเงื่อนไขแบบคลาสิก (สั่นกระดิ่งแล้วหมาน้ำลายไหลของ Pavlov: อิวาน เปโตรวิช พาวอฟ) ชื่อ Pavlov อ่านว่า พา-วอฟ นะครับ ไม่ใช่ พาฟ-ลอฟ (อันนี้ไม่มีในหนังสือเล่มนี้นะครับ ผมนึกถึงเฉยๆ ครับ)