จากข่าวที่รบกวนจิตใจอยู่ในขณะนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังสือ Pedo เล่มนึงซึ่งหวานและอบอุ่นมาก เขียนโดยท่านอาจารย์ที่ผมคาดว่า น่าจะเป็นหมอที่อ่อนโยนและใจดีที่สุดท่านหนึ่ง หลังจากที่ทำความรู้จักท่านผ่านทางตัวหนังสือ
หนังสือเล่มนี้คล้ายๆ หนังสือทันตแพทย์หลายๆ เล่ม คือ พิมพ์ออกมาน้อย (ประมาณ 1000 เล่ม) และไม่ค่อยตีพิมพ์ซ้ำ เล่มที่ผมมีอยู่เป็นเล่มที่พิมพ์ครั้งที่ 1 ปลายปี พ.ศ.2552
ท่านอาจารย์ผู้เขียน รศ.ทพญ.ประภาศรี ริรัตนพงษ์ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก มหิดล
หนังสือสีหวาน ขนาด 80 หน้า แบ่งเนื้อหาตามลำดับของการทำความรู้จัก, การจัดการต่อสิ่งที่พบ, การทำความเข้าใจต่อพฤติกรรมและการให้การรักษาที่เหมาะสม (หรือพูดอีกด้านคือ การไม่ให้การรักษาที่เหมาะสม) ท่านอาจารย์ประภาศรีเขียนเนื้อหาทั้ง 6 บท มีเพียงบทสุดท้าย เขียนโดย กุมารแพทย์ คณะแพทย์ จุฬา คือ ผศ.นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร
บทที่เกี่ยวกับทันตแพทย์โดยตรง คือ บทที่ 5 ผลของ finger sucking และ บทที่ 6 การจัดการ finger sucking
เริ่มที่ Intro การ finger sucking เป็นพฤติกรรมปกติและถือเป็น learning จนหลัง 1 ขวบ จะค่อยๆ ลดลงไปเองเรื่อยๆ จน 2-4 ขวบ เด็กจะหายจากพฤติกรรมนี้ไปได้เอง
ในบทที่ 2 จะลงรายละเอียดถึงลักษณะการดูดเทียบการดูดจากนมแม่ จากที่อ่าน เด็กดูดหัวนมโคตรแน่นมาก (ผมว่าแม่น่าจะเจ็บเลยนะ) แล้วใช้ลิ้นรีดน้ำนมออกมาโดยลิ้นมีการเคลื่อนตัวเป็นคลื่น Peristaltic motion)
เทียบกับการดูดจากนมขวด จะเห็นตำแหน่งของเพดานกับลิ้น คนละเรื่องกับการดูดนมแม่เลย
รูปแสดงลักษณะหัวนมปลอมแบบทั่วไปกับแบบ Orthodontic ซึ่งจะแบนกว่า โค้งกว่า เพื่อให้รับกับ palate
บทที่ 3 พูดถึง factors ที่มีผลให้เกิดซึ่งเยอะมาก ประมาณ 12 ข้อ ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาตอนเด็กเข้านอน หรือ จำนวน-ลำดับของพี่น้องในครอบครัว ก็มีผลนะ ตอนท้ายบท ท่านอาจารย์ยก Theory ทาง Psycho มา 3 ทฤษฎีหลัก ที่ใช้อธิบายสาเหตุ
บทที่ 4 เป็น Prevalence แสดงตารางตัวเลขการศึกษาในประเทศและภูมิภาคต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นยุโรป) ที่น่าสนใจคือ พบเด็กเอสกิโม กับ เด็กอินเดียแดงพื้นเมืองใน US ที่ไม่พบพถติกรรมการดูดนิ้วเลย
บทที่ 5 จะเริ่ม link กับ Ortho ละ ทั้งอธิบายการเกิด malocclusion ทั้ง Ant open bite, Cross bite ไปจนถึง Skeletal deformity เกิด Angle Cl II (finger sucking ไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่ถ้า skeleton หรือ occlusion มีแนวโน้มอยู่แล้ว จะยิ่งเร่งให้เกิดแรงขึ้น)
ท่าทางในการดูดนิ้วก็มีผลไม่เหมือนกัน การหงายนิ้วดูดดังรูปจะเกิดแรงแบบคานระบบที่ 1 ดันฟันบนให้ procline และดันฟันหน้าล่างให้ retrude
บทที่ 6 ที่ท่านอาจารย์ ประภาศรีเขียนเป็นบทสุดท้าย เรื่อง การจัดการ (การรักษาพฤติกรรมนี้) ตั้งแต่ การไม่ต้องทำอะไรเลยในเด็กต่ำกว่า 4 ขวบ และเริ่ม counsellling เด็กและพ่อแม่ใน 4-6 ขวบ และถ้าหลังจากช่วงนี้ (คือใกล้ 10 ขวบ) ต้องใช้วิธีอื่นในการปรับเพิ่ม ทั้งวิธีทางจิตวิทยา และการใส่ Appliance
บทสุดท้ายของหนังสือ เขียนโดยท่านอาจารย์กุมารแพทย์ อธิบายมุมมองด้วยทฤษฎีจิตวิทยาต่างๆ ทั้ง Sigmund Freud และท่านอื่นๆ สรุปคือ ทางแพทย์มองว่า เป็นนิสัยที่ปกติ ยอมรับได้ แต่จะเริ่มเข้าไปจัดการเมื่อ เด็กอายุ 5 ขวบ (เท่าๆ กับของทันตแพทย์ที่ 4-6 ขวบ) และใช้เทคนิกการรักษาโดยการปรับพฤติกรรม ก็เอาอยู่แล้ว
โดยสรุป (ความเห็นส่วนตัวของผม) ทางกุมารแพทย์จะ chill มาก มองว่า เป็นเพียงนิสัยที่ทำซ้ำๆ เพื่อชดเชยความมั่นคงทางอารมณ์ของเด็ก แต่สำหรับทันตแพทย์ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่ (ยิ่งถ้ายังทำหลัง 4 ขวบ จะเรื่องใหญ่มาก) เพราะมันมีผลต่อฟันและ Skeletal อาจทั้งโดยตรงและโดยอ้อม