ผู้เป็นต้นกำเนิดของการศึกษาด้าน ergonomics เป็นชาวโปแลนด์ ศ. วอยส์ไซเอช จาสท์รเซโบรว์สกี้ (Prof. Wojciech Jastrzebrowski) (ตรงกับไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 4)
หนังสือความหนา 180 หน้า
ท่านอาจารย์ผู้แต่งทำงานในสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ และเรียนต่อระดับสูงในสายเวชนิทัศน์จึงมีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
จุดประสงค์ของหนังสือ สำหรับผู้อ่านในระดับ ป.ตรี โครงสร้างหนังสือในช่วงต้นถึงกลางๆ จะเป็นในสไตล์ของ ป.ตรี คือ เน้นท่องมาก ตั้งแต่บทที่ 1-3 และ 5 เป็นส่วนที่ทันตแพทย์มีพื้นฐานรื่อง Gross Anatomy อยู่แล้ว ยกเว้นบทที่ 4 ซึ่งเป็นค่า norm ของสัดส่วนร่างกายมนุษย์ (คนไทย) ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมเป็นสถิติที่ละเอียดมาก
บทที่ 6 น่าจะเป็นบททีบรรจุไว้สำหรับนักเรียนทันตแพทย์ในโรงเรียนมากที่สุด
Ergonomics = Ergon+nomos นั้นธรรมดาไป แต่การบัญญัติคำว่า “การยศาสตร์” (การย์+ศาสตร์) ของราชบัณฑิตนั้นยิ่งแปลกกว่า
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเล่มล่าสุด (ปี 2554) ไม่มีคำว่า “การยศาสตร์” มีแต่คำว่า “การย์” เท่านั้น
เริ่มต้นบทที่ 2 เป็น anatomy พื้นฐาน เด็กๆ จะต้องท่องกันประมาณนี้ครับ
บทที่ 3 เริ่มเข้าสู่ movement