ลักษณะที่เรียกว่า Halo effect หรือ Halo-like bone loss คือ ลักษณะ bone loss แบบ J-shaped radiolucency ซึ่งมีส่วนหัวของตัว J เริ่มจาก apically และส่วนหางของ J ลากยาวในทิศขึ้นไป coronally
จากรูป J-shape radiolucency pattern นี้จะเกิดขนานกับ root surface ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
…..(อันนี้นอกเรื่องนะครับ)…
คำว่า Halo effect ในความหมายทั่วไป (นอกจากอธิบายลักษณะ bone loss ใน periapical film) จะใช้กับ 1.พระอาทิตย์และพระจันทร์ 2.ทางจิตวิทยา
ในความหมายแรก Halo phenomenon ถ้าใช้กับ Sun และ Moon คำว่า Halo คือ การทรงกลด ซึ่งเกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคิน จากแสงเดินทางผ่าน เกล็ดน้ำแข็งในเมฆที่ลอยอยู่ในระดับสูง เกิดการเดินทางผ่านและหักเหของแสงเป็น พระอาทิตย์ทรงกลด และ พระจันทร์ทรงกลด
Halo คือ รัศมีของแสงสว่างที่ล้อมโดยรอบ (เมฆที่ลอยในระดับสูงเกิดจากเกล็ดน้ำแข็งเท่านั้น ส่วนเมฆที่ลอยระดับกลางเกิดจากเกล็ดน้ำแข็งและน้ำเย็นยิ่งยวด(Super cool water= น้ำที่มีอุณหภูมิ 0 ถึง -39 องศาเซลเซียส แต่ยังมีสถานะเป็นของเหลว และเมฆที่ลอยระดับต่ำเช่น เมฆฝนหรือหมอกจะเกิดจากหยดน้ำเท่านั้น)
ส่วน Halo effect ในความหมายที่ 2 (ทางจิตวิทยา) คือ การเชื่อแบบเอนเอียง (bias) ของคนหนึ่งที่มีต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยถูกบดบังโดยลักษณะพิเศษบางอย่าง เช่น การเชื่อว่า คนหน้าตาดีคือคนที่มีจิตใจดี เชื่อใจและไว้ใจได้ (ทั้งที่จริงหน้าตาและจิตใจ เป็นสิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์แบบแปรตามกัน)
Halo effect ใน periapical film คือ ลักษณะ radiolucency ที่มีขอบเขตเสมือนรัศมีของพระอาทิตย์ทรงกลดและลักษณะ Halo effect ที่เฉพาะของ Vertical root fracture คือ J-shaped radiolucency โดยสรุป
มีการศึกษาพบว่า ถ้ามุมในการถ่าย Pa film อยู่ในระนาบเดียวกับ crack line แตกต่างกันไม่เกิน 4 องศา จะสามารถ detect Vertical root fracture จากใน film ได้ ดังนั้นในกรณีที่สงสัย จึงแนะนำให้ถ่าย Pa โดยเปลี่ยน angulation ของ X-ray ในหลายๆ มุม
รูป B เปลี่ยนมุมยิง X-ray จากรูป A
ตัวเลขโอกาสเจอ Vertical root fracture จาก Pa film อยู่ที่ 35.7% (หมายถึง โอกาสเห็น crack line เลยนะครับ ไม่ใช่ลักษณะ J-shaped radiolucency)